การสอบเทียบ IGCSE คืออะไร? เข้าคณะอะไรได้บ้าง?
น้อง ๆ คนไหนอยากไปเรียนต่างประเทศบ้างยกมือขึ้น!
เด็กอินเตอร์ส่วนใหญ่ไม่มีใครไม่รู้จักการสอบ IGCSE ที่เป็นการสอบในหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติทั่วไป แต่รู้หรือไม่ว่าการสอบ IGCSE สามารถสอบเทียบวุฒิ ม.6 และใช้ยื่นเข้าสมัครเรียนต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในไทยและต่างประเทศได้อีกด้วย
ไม่เพียงเท่านี้ การสอบ IGCSE ยังไม่จำกัดว่าต้องเป็นน้อง ๆ ที่เรียนในโรงเรียนนานาชาติเท่านั้น แต่น้อง ๆ ที่เรียนแบบ Home School ก็สามารถสอบเทียบได้เช่นเดียวกัน ซึ่งจะสอบอย่างไรบ้างนั้น มาทำความรู้จัก IGCSE ไปพร้อมกันเลย!
หัวข้อน่าสนใจเกี่ยวกับการสอบเทียบ IGCSE
การสอบ IGCSE คืออะไร ?
IGCSE หรือ International General Certificate of Secondary Education เป็นการสอบเทียบวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลายของอังกฤษ ซึ่งการสอบ IGCSE นั้นจะอยู่ในระบบการศึกษาของโรงเรียนนานาชาติที่ใช้ระบบการเรียนการสอนแบบอังกฤษโดยเทียบเท่าได้กับวุฒิการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 4 ของไทยและได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (เทียบเท่ามาตรฐานของ GCE Ordinary และ British GCSE) โดยการสอบ IGCSE นั้นน้อง ๆ สามารถเลือกสอบได้ตามความถนัด โดยอาจเป็นข้อสอบแบบเขียนตอบหรือสอบปฏิบัติในบางวิชาและแน่นอนว่าน้องๆ จะต้องทำข้อสอบเป็นภาาษอังกฤษทั้งหมด เมื่อน้อง ๆ สอบ IGCSE ผ่านแล้วก็สามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้อย่าง AS , A-Level หรือ IB เพื่อสอบเทียบวุฒิมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองและสามารถนำไปยื่นเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยทั้งในไทยและต่างประเทศต่อไปได้
การสอบ IGCSE ดียังไง ?
ผลสอบ IGCSE เป็นผลการสอบที่ได้รับการยอมรับระดับสากล สามารถใช้ยื่นเข้าศึกษาต่อในประเทศที่รองรับระบบการศึกษาและหลักสูตรแบบอังกฤษในสถาบันการเรียนทั่วโลก ที่สำคัญคือน้อง ๆ มีโอกาสในการเลือกสอบในวิชาที่ตัวเองถนัดมากถึง 3 วิชาอีกด้วย
- จัดสอบและรับรองมาตรฐานโดย Cambridge
- เป็นการปูพื้นฐานเพื่อนำไปสอบในระดับที่ยากขึ้นได้
- สามารถใช้วุฒิ IGCSE เพื่อสอบ AS, A-LEVEL หรือ IB ได้
- ได้เลือกวิชาสอบที่ตัวเองถนัด
- ได้รับการยอมรับในระดับสากล
IGCSE ยื่นเข้ามหาลัยอะไร ที่ไหนได้บ้าง ?
น้อง ๆ ที่ต้องการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย หากสอบ IGCSE แล้ว จะต้องสอบ AS หรือ A-LEVEL เพิ่มอีก 3 วิชา แล้วจะสามารถนำมายื่นสมัครเรียนได้ทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน หากเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐจะเน้นหลักสูตรนานาชาติ ส่วนมหาวิทยาลัยเอกชนก็สามารถยื่นได้ทั้งหลักสูตรไทยและหลักสูตรนานาชาติ ตัวอย่างคณะจากมหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผลสอบ GCE ‘A’ Level อาทิ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หลักสูตรนานาชาติ)
- คณะบริหารธุรกิจ (BBA)
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ISE)
- คณะอักษรศาสตร์ (BALAC)
- สาขาการจัดการสื่อสาร (CommArts)
- คณะเศรษฐศาสตร์ (EBA)
- สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ (CommDe)
- สาขาการออกแบบสถาปัตยกรรม (INDA)
- สาขาเคมีประยุกต์ (BSAC)
- สาขาวิทยาศาสตร์จิตวิยา (JIPP)
*บางคณะน้อง ๆ จะต้องสอบ SAT, CU-AAT, CU-TEP เพิ่ม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
- คณะรัฐศาสตร์ (BMIR)
- คณะเศรษฐศาสตร์ (BE)
- สาขานโยบายสังคมและการพัฒนา (SPD)
- สาขาอังกฤษ-อเมริกันศึกษา (BAS)
- สาขาภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ (BEC)
- สาขาสื่อมวลชนศึกษา (BJM)
- สาขานวัตกรรมการบริการ (MSI)
- สาขากฎหมายธุรกิจ (LL.B.)
- คณะบริหารธุรกิจ (BBA)
- สาขาการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล (IDD)
- สาขาเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ (CDT)
- สาขาวิทยาศาสตร์อุตสาหการและการจัดการ (ISC)
- สาขาการออกแบบพัฒนาชุมชนเมือง (UDDI)
- วิทยาลัยโลกคดีศึกษาและผู้ประกอบการสังคม (GSSE)
- เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก เทคโนโลยีทางคลินิก (CICM)
- สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT)
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ (TEP,TEPPE)
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (หลักสูตรนานาชาติ)
- คณะวิทยาศาสตร์ (B.Sc.)
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ (B.Eng.)
- สาขาเทคโนโลยีสร้างสรรค์ (Creative Technology)
- คณะบริหารธุรกิจ (MBA)
- สาขาสื่อและการสื่อสาร (Media and Communication)
- สาขาผู้ประกอบการด้านธุรกิจการเดินทางและธุรกิจบริการ (THM)
วิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ (ภายในประเทศ)
- วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- มหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ด
- วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
- วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
- พระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา
- วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
- วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- วิทยาลัยนานาชาติ
- มหาวิทยาลัยรังสิต
- มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
มหาวิทยาลัย (ต่างประเทศ)
- มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม (University of Birmingham)
- มหาวิทยาลัยบริสตอล (University of Bristol)
- มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge)
- มหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ (Cardiff University)
- มหาวิทยาลัยเดอรัม (University of Durham)
- มหาวิทยาลัยเอดินบะระ (University of Edinburgh)
- มหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์ (University of Exeter)
- มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ (University of Glasgow)
- อิมพีเรียลคอลเลจ ลอนดอน (Imperial College London)
- ราชวิทยาลัยแห่งลอนดอน (King’s College London)
- มหาวิทยาลัยนาโกยา (Nagoya University)
- มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น (University of Melbourne)
- มหาวิทยาลัยในเครือ Ivy League และ Ivy Plus
สอบ IGCSE กี่วิชาและวิชาบังคับต้องสอบอะไรบ้าง ?
การสอบ IGCSE น้องๆ จะต้องสอบทั้งหมด 5 วิชา ที่ประกอบไปด้วยวิชาพื้นฐานต่างๆ ทั้งการฟัง การพูดและการเขียนภาษาอังกฤษ โดยวิชาที่บังคับสอบ คือ คณิตศาสตร์ (Math) และ ภาษาอังกฤษ (English as a second language) และเลือกสอบอีก 3 วิชาได้ตามความถนัดซึ่งมีให้เลือกสอบมากถึง 70 วิชา โดยแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มหลักๆ ได้แก่
- กลุ่มวิชาทักษะภาษาอังกฤษ (English Language and Literature)
ตัวอย่างวิชา
– English First Language
– English Literature
– English as an Additional Language
– English as a Second Language - กลุ่มวิชาภาษาศาสตร์ (Language)
ตัวอย่างวิชา
– Thai
– English (First or Second Language)
– Chinese
– Japanese
– Korean
– Arabic
– German
– French - กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ (Mathematics)
ตัวอย่างวิชา
– Mathematics
– Cambridge
– International Mathematics
– Additional Mathematics - กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Humanities and Social Sciences)
ตัวอย่างวิชา
– Economics
– Geography
– History
– Business Studies
– Travel and Tourism - กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ (Sciences)
ตัวอย่างวิชา
– Agriculture
– Biology
– Chemistry
– Physics
– Environmental Management - กลุ่มวิชาทักษะวิชาชีพ (Creative and professional)
ตัวอย่างวิชา
– Accounting
– Art & Design
– Business Studies
– Music
– Travel & Tourism
* เวลาในการสอบขึ้นอยู่กับแต่ละรายวิชาที่น้อง ๆ เลือกสอบ
** ในบางวิชาจะมีการเปิดสอบ 2 ระดับ (Core และ Extended) เนื้อหาของการสอบแบบ Core จะเป็นการสอบแบบวัดพื้นฐานความรู้แบบไม่เจาะลึก ส่วนการสอบแบบ Extended จะเป็นการสอบที่วัดความรู้เฉพาะแบบเจาะลึก
*** น้อง ๆ จะต้องสอบให้ผ่านอย่างน้อย 5 วิชา ด้วยเกรดไม่ต่ำกว่า C เพื่อผ่านหลักสูตร ซึ่งการให้คะแนนของแต่ละวิชาในการสอบ IGCSE นั้นเริ่มต้นที่เกรด A* ถึง G (A*, A, B, C, D, E, F, G) และ U (Ungraded)
ในกรณีที่เลือกสอบวิชาที่เปิดสอบ 2 ระดับ ระดับ Core จะเริ่มต้นที่เกรด C D E F G และระดับ Extended สามารถได้เกรดตั้งแต่ A*, A, B, C, D, E, F, G
วิธีคิดคะแนน IGCSE (IGCSE Grading)
ในการจะได้วุฒิ IGCSE น้อง ๆ จะต้องสอบให้ผ่านอย่างน้อย 5 วิชา ด้วยเกรดไม่ต่ำกว่า C เพื่อผ่านหลักสูตร ซึ่งการให้คะแนนของแต่ละวิชาในการสอบ IGCSE นั้นจะมีการให้คะแนนที่แตกต่างกันค่ะ ในบางรายวิชาหากน้อง ๆ ตอบผิด แม้ว่าคำตอบของน้อง ๆ จะสามารถเข้าใจได้หรือใกล้เคียงกับคำตอบที่ถูกต้องมาก ๆ แต่หากคำตอบไม่เป็นไปตามแนวที่ผู้จัดสอบกำหนด ก็จะทำให้ไม่มีคะแนนในข้อนั้น ๆ นั่นเอง
คะแนนของ IGCSE จะใช้ระบบการให้เกรด ซึ่งเริ่มต้นที่เกรด A* ถึง G (A*, A, B, C, D, E, F, G) และ U (Ungraded)
ในการสอบ IGCSE จะมี 2 ระดับ: ระดับ Core จะเริ่มต้นที่เกรด C D E F G และระดับ Extended สามารถได้เกรดตั้งแต่ A*, A, B, C, D, E, F, G
การให้เกรดของ IGCSE ในแต่ละปีจะไม่เหมือนกัน เพราะว่าความยากง่ายของข้อสอบแตกต่างกันค่ะ และมีทั้งรูปแบบข้อสอบแบบเลือกข้อถูกเพียงข้อเดียว และรูปแบบข้อเขียน ในส่วนของข้อเขียนผู้ตรวจข้อสอบจะใช้สิ่งที่เรียกว่า Mark Scheme ในการให้คะแนน และจะนำคะแนนของน้อง ๆ ทุกคนที่ส่งคำตอบในปีนั้น ๆ มากำหนด Grade Boundaries ซึ่งตรงนี้นี่แหละ ที่ทำให้แต่ละปีจะมีคะแนนขั้นต่ำของแต่ละเกรดแตกต่างกันค่ะ เช่นในปีก่อน น้องที่สอบได้ 80% อาจจะได้เกรด A* แต่ปีที่แล้วน้องบางคนทำคะแนนได้ 80% อาจจะได้เกรด B
สิ่งที่น้อง ๆ จะสามารถสังเกตได้เลยก็คือ น้องที่สอบคนละปีแม้ว่าจะได้เปอร์เซ็นของคะแนนเท่ากันแต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะได้เกรดเดียวกันนะ เพราะในปีก่อนข้อสอบอาจจะยากกว่าปีนี้คนที่ทำคะแนนได้ 80% จึงได้เกรด A* แต่ในปีที่แล้วข้อสอบอาจจะง่ายกว่าปีก่อน เพราะแม้ว่าจะทำคะแนนได้ 80% จึงไม่การันตีว่าจะได้เกรด A* นั่นเองค่ะ
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วน้อง ๆ หลายคนอาจจะมีความกังวล แต่ไม่ต้องกลัวไปนะคะ เพราะไม่ว่าข้อสอบที่น้อง ๆ ต้องเจอ จะมีระดับความยากหรือง่ายแค่ไหน หากน้อง ๆ มีความเข้าใจในเนื้อหา ฝึกฝนทำโจทย์จนเชี่ยวชาญ และตอบให้ถูกต้องตาม Mark Scheme ก็สามารถคว้าเกรดสูง ๆ ได้แน่นอน
สำหรับ Grade Boundaries Edexcel IGCSE รอบมกราคม 2022 น้อง ๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่นี่เลยค่ะ คลิก
รูปแบบของการสอบ IGCSE
➤ IGCSE CIE คืออะไร ต่างกับ IGCSE Edexcel ยังไง อันไหนดีกว่ากัน ?
ข้อสอบ IGCSE แบ่งออกได้เป็น 2 บอร์ด คือ CIE (Cambridge International Examinations) ซึ่งเป็นบอร์ดที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร มีให้เลือกสอบ 5 รายวิชา ส่วน Edexcel ก็เป็นที่ยอมรับของมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรเช่นเดียวกัน แต่จะมีวิชาให้เลือกสอบได้มากกว่า 40 วิชา ขึ้นอยู่กับว่าน้อง ๆ เลือกสอบวิชาอะไรบ้าง และต้องการสอบในรอบไหนนั่นเอง
➤ IGCSE Extended คืออะไร ต่างกับ IGCSE Core ยังไง อันไหนดีกว่ากัน ?
การสอบ IGCSE นั้นแบ่งความยากง่ายของข้อสอบอยู่ 2 ระดับ ได้แก่
- ระดับพื้นฐาน (Core) การสอบจะมีจำนวนข้อน้อยกว่าและใช้เวลาสอบไม่มาก เกรดที่จะได้นั้นมีเฉพาะ C, D, E, F และ G
- ระดับสูง (Extended) การสอบจะมีความยากมากขึ้น โดยเกรดที่จะได้ คือ A*, A, B, C, D, E หรือ U
➤ IGCSE กับ GCSE ต่างกันยังไง อันไหนดีกว่ากัน?
การสอบ IGCSE นั้นเป็นหลักสูตรพื้นฐานสำหรับต่อยอดไปสู่ระดับ A-Level เทียบเท่าได้กับ การสอบ GCSE แต่ IGCSE นั้นจะเปิดสอนในระดับนานาชาติ ต่างจากการสอบ GCSE ที่เปิดสอนเฉพาะในสหราชอาณาจักรเท่านั้น ดังนั้นหลักสูตรของ IGCSE จึงมีความหลากหลายมากกว่า แต่มีมาตรฐานและวิชาสอบเช่นเดียวกันกับ GCSE
➤ การสอบเทียบ IGCSE เมื่อเทียบกับการสอบเทียบอื่น ๆ IGCSE กับ GED ต่างกันยังไง อันไหนดีกว่ากัน?
การสอบ IGCSE และ GED เป็นการสอบเทียบเพื่อให้ได้มาซึ่งวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลายเช่นเดียวกัน แต่อย่างที่ทราบกันว่า การสอบ GED (General Educational Development) เป็นหลักสูตรของประเทศอเมริกาที่จะได้รับประกาศนียบัตรหรือวุฒิการศึกษาระดับ ม.6 โดยสามารนำไปใช้สมัครเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้ ทั้งมหาวิทยาลัยภาครัฐ เอกชน รวมถึงมหาวิทยาลัยในต่างประเทศด้วย
ส่วนระบบการสอบแบบ IGCSE นั้นจะเป็นการสอบเทียบเท่าในระดับ ม.4 ด้วยหลักสูตรของประเทศอังกฤษ เพื่อนำไปต่อยอดสอบเทียบในระดับ A-Level หรือ ม.6 ซึ่งหมายความว่าหลังจากที่สอบ IGCSE ผ่านแล้ว น้อง ๆ จะต้องสอบระดับ A-Level ให้ผ่านด้วย จึงจะได้รับวุฒิเทียบเท่าม.6 และสามารถใช้ยื่นเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยทั้งในไทยและต่างประเทศได้
โดยจุดเด่นของการสอบ IGCSE คือสามารถเลือกวิชาเรียนได้ตามความสนใจและเป็นเนื้อหาเชิงลึกคล้ายกับการเรียนการสอนของชั้นปีที่ 1 ในระดับมหาวิทยาลัย ส่วนการสอบ GED จะเน้นการคิดวิเคราะห์ การอ่าน และการตีความหรือการให้เหตุผลตามเนื้อหาสอบที่กำหนด จึงขึ้นอยู่กับว่าน้อง ๆ มีความถนัดแบบไหนและวางแผนการศึกษาต่อของตนเองอย่างไรในอนาคตนั่นเองค่ะ
➤ IGCSE กับ AS & A-Level ต่างกันยังไง อันไหนดีกว่ากัน?
หลักสูตรของ IGCSE กับ AS & A-Level นั้นต่างเป็นหลักสูตรของ Cambridge Assessment International Education เช่นเดียวกัน ซึ่ง IGCSE เป็นหลักสูตรพื้นฐานเพื่อต่อยอดไปสู่ AS & A-Level เพื่อเทียบวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยหลักสูตร IGCSE จะใช้ระยะเวลาเรียน 2 ปี ซึ่งน้อง ๆ สามารถเลือกวิชาเรียนได้กว่า 70 วิชา และผลคะแนนสอบจะใช้เกณฑ์มาตรฐานสากลตั้งแต่เกรด A* จนถึงเกรด G
ส่วนการสอบ AS & A-Level นั้นจะมีเนื้อหาวิชาที่ลึกมากขึ้นและใช้ทักษะความคิดเชิงตรรกะร่วมด้วย ซึ่งหลักสูตรนี้ใช้ระยะเวลาเรียน 2 ปีเช่นกัน
โดยแบ่งออกเป็น
- ปีที่ 1 เรียกว่า AS Level หรือ Year 12 (เทียบเท่า ม.5)
- ปีที่ 2 เรียกว่า A2 Level หรือ Year 13 (เทียบเท่า ม.6)
โดยหลักสูตร AS & A-Level มีวิชาให้เลือกเรียนทั้งหมดประมาณ 66 วิชา แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มวิชาเช่นเดียวกับ IGCSE และผู้เรียนจะต้องเลือกเรียน 3 – 4 วิชาต่อปี โดยผลคะแนนจะใช้เกณฑ์มาตรฐานสากลตั้งแต่เกรด A* จนถึงเกรด E ซึ่งหากน้อง ๆ ต้องการเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยจึงต้องสอบให้ผ่านทั้ง IGCSE และ AS & A-Level
➤ IGCSE กับ IB ต่างกันยังไง อันไหนดีกว่ากัน?
หลักสูตร IB (International Baccalaureate Programme) เป็นการเรียนการสอนที่แพร่หลายกว่า 156 ประเทศ โดยมีจุดประสงค์เพื่อรองรับนักเรียนนักศึกษาที่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนสถานที่เรียนจากอีกที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งอยู่บ่อยครั้ง จึงต้องมีหลักสูตรที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลกนั่นเอง ดังนั้นหลักสูตร IB จึงมีเนื้อหาที่หลากหลาย โดยแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้
- Primary Years
- Programme หรือ PYP (ช่วง 3-12 ปี)
- Middle Years Programme หรือ MYP (ช่วง 11-16 ปี)
- Diploma Programme หรือ IBDP (ช่วง 16-19 ปี) ซึ่งเป็นหลักสูตรระดับเดียวกันกับ A- Level และแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มวิชา ได้แก่ ภาษาและวรรณกรรม ทักษะการใช้ภาษา ปัจเจกและสังคม วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศิลปะ นอกจากนี้ยังต้องสอบให้ผ่านอีก 3 วิชาหลัก ได้แก่
- Theory of Knowledge (ToK) การฝึกคิดวิเคราะห์เชิงวิพากษ์เกี่ยวกับมนุษย์และสังคม วัฒนธรรมของตนเองและโลก
- Creativity, Action, Service (CAS) โครงงานกิจกรรมนอกโรงเรียนที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ จิตอาสา กิจกรรมเพื่อสังคม
- Extended Essay (EE) การเขียนเรียงความในหัวข้อที่ตนเองสนใจ
ดังนั้นหลักสูตร IB จึงสามารถนำไปยื่นเข้าสมัครเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้เช่นเดียวกับการระบบสอบ IGCSE แต่จะเน้นไปที่มหาวิทยาลัยในต่างประเทศและมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร จึงเหมาะสำหรับผู้ที่เรียนในระบบ IB Full ตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงมัธยมมาแล้ว ต่างกับระบบสอบ IGCSE ที่จะเป็นหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติ รวมถึงน้อง ๆ ที่สนใจก็สามารถเลือกสอบ IGCSE เป็นรายวิชาได้ไม่จำกัด
วิธีการสมัครสอบ IGCSE
การสอบ IGCSE นอกจากสถาบันหรือโรงเรียนมีการจัดสอบขึ้นเองแล้ว น้อง ๆ สามารถสมัครสอบด้วยตนเองได้ ดังนี้
- ลงทะเบียนสอบได้ที่ British Council หรือ Harrow International School โดยดาวน์โหลดและลงทะเบียนผ่านช่องทางออนไลน์
- กรอกแบบฟอร์มลงทะเบียนและลงลายมือชื่อ จากนั้นให้น้อง ๆ พิมพ์แบบฟอร์มเก็บไว้เป็นสำเนาอีก 1 ชุด เพื่อใช้เป็นหลักฐาน
- เตรียมเอกสารให้เรียบร้อย ได้แก่ รูปถ่ายสีขนาด 2 นิ้วที่ถ่ายไว้ไม่เกิน 3 เดือน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทาง
- ชำระเงินเต็มจำนวนด้วยการโอนเงินผ่านธนาคารและส่งหลักฐานการโอนผ่านอีเมล หรือชำระด้วยตนเองได้ที่ศูนย์สมัครสอบด้วยบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต (VISA/Master Card) โดยมีอัตราค่าธรรมเนียมตามที่ระบุไว้ในแบบฟอร์มลงทะเบียน
สำหรับสถานที่ในการรับสมัคร และสนามสอบ IGCSE ในประเทศไทย
สำหรับสถานที่ในการรับสมัคร และสนามสอบ IGCSE ในประเทศไทย น้อง ๆ สามารถเลือกสมัครและเข้าสอบได้ตามสถานที่ดังนี้
- สมัครและสอบที่โรงเรียนนานาชาติระบบอังกฤษที่น้อง ๆ ศึกษาอยู่ที่เป็นศูนย์สอบ IGCSE
- สมัครและสอบที่ Harrow International School
- สมัครและสอบที่ Singapore International School of Bangkok
- สมัครและสอบที่ บริติช เคาน์ซิล ประเทศไทย สาขาสยามแสควร์ (รออัพเดตสนามสอบกับสถาบันโดยตรง) น้อง ๆ สามารถสมัครด้วยตนเองได้ที่ บริติช เคาน์ซิล สาขาสยามแสควร์ (จันทร์ – เสาร์ เวลา 09.00-18.00 น.) หรือสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดการสมัครสอบ IGCSE กับบริติช เคาร์ซิล ประเทศไทยได้ที่ คลิก
คุณสมบัติในการสมัครสอบ IGCSE ?
น้อง ๆ ที่มีอายุระหว่าง 14-16 ปีทุกคน ไม่ว่าน้อง ๆ จะกำลังศึกษาอยู่ในระดับไหน หรือระบบการเรียนไหนก็ตาม เช่น การเรียนระบบอเมริกัน การเรียนระบบ Home School หรือการเรียนระบบมัธยม สามารถสมัครเพื่อขอสอบ IGCSE ได้
ค่าสอบ IGCSE ราคาประมาณเท่าไหร่ ?
ค่าสมัครสอบ IGCSE จะขึ้นอยู่กับแต่ละรายวิชา ราคา 5,400-8,400 บาทต่อวิชา ซึ่งหากน้อง ๆ จ่ายไม่ทัน จะต้องลงทะเบียนล่าช้า ซึ่งจะมีค่าลงทะเบียน IGCSE ล่าช้าอยู่ที่ประมาณ 3,100 บาทต่อหนึ่งวิชา
วิธีตรวจผลสอบ IGCSE (IGCSE Results)
โดยปกติแล้ว น้อง ๆ จะสามารถทราบผลสอบได้ภายใน 2 เดือนหลังจากวันสอบ โดยน้อง ๆ สามารถเข้าไปดูได้ผ่านระบบออนไลน์ของศูนย์สอบแต่ละแห่ง และใบรับรองผลสอบจะถูกจัดส่งไปตามที่อยู่ที่น้อง ๆ ได้ระบุไว้ตอนลงทะเบียนสอบภายใน 16-18 สัปดาห์ค่ะ
หากน้อง ๆ เลือกสอบที่ British Council สามารถดูผลสอบได้ที่นี่เลย คลิก
การเทียบวุฒิ IGCSE (กับทางกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทย)
จาก ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการสอบเทียบวุฒิการศึกษาในประเทศและต่างประเทศระดับการศึกษาพื้นฐาน พ.ศ.2565 ได้มีการประกาศเกณฑ์การเทียบวุฒิการศึกษาเท่ากับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาประจำปี 2565 ดังนี้
ระบบอังกฤษ ผู้สมัครเข้าศึกษาต่อมีผลการสอบระดับ GCE ‘A’ Level (General Certificate of Education Advanced Level) จำนวนอย่างน้อย 3 วิชา เกรด A*-E หรือผลการสอบ Cambridge Pre-U จำนวนอย่างน้อย 3 วิชา เกรด M1 หรือ D1-D3
*เกณฑ์การเทียบวุฒิการศึกษาเท่ากับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในระบบคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 ไม่ใช่เกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษาต่อของมหาวิทยาลัย แต่ละมหาวิทยาลัยอาจกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำสูงขึ้น น้อง ๆ จึงต้องศึกษาว่าแต่ละคณะและมหาวิทยาลัยที่น้อง ๆ ต้องการยื่นคะแนนเข้าศึกษาต่อใช้เกณฑ์ขั้นต่ำเท่าไหร่ ซึ่งก็จะแตกต่างกันออกไปนั่นเองค่ะ
คอร์สเตรียมความพร้อมสอบ GED ที่ The Advisor Academy !
หากน้อง ๆ นักเรียนที่มีอายุ 14-16 ปี อยากสอบ IGCSE ให้ผ่านฉลุย มาเตรียมลุยข้อสอบกับ The Advisor Academy หนึ่งในสถาบันเตรียมสอบหลักสูตรนานาชาติ (Test Preparation Center) ชั้นนำในประเทศไทยที่มีหลักสูตรติว IGCSE ทั้งแบบส่วนตัว แบบคู่ และแบบกลุ่ม โดยในคอร์สติว IGCSE จะมีการประเมินพื้นฐานภาษาอังกฤษก่อนเรียน พร้อมวางแผนเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยเป็นรายบุคคลให้อย่างละเอียด เข้าเรียนสดผ่านระบบ Zoom จำนวน 100 ชั่วโมงเต็ม พร้อมไฟล์บันทึกการสอนเพื่อทบทวนย้อนหลัง รวมทั้งมีการทดสอบ IGCSE กับครูผู้สอนก่อนลงสู่สนามสอบจริงอีกด้วย
หากน้องๆ สนใจคอร์สติวสอบ IGCSE ของ The Advisor Academy สามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://theadvisoracademy.com/igcsecourse/