เช็กลิสต์สิ่งที่ต้องรู้ก่อนสอบเทียบ GED ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่? ต่อที่ไหนได้บ้าง?

เช็กลิสต์สิ่งที่ต้องรู้ก่อนสอบเทียบ GED ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่? ต่อที่ไหนได้บ้าง?

พี่เชื่อว่าสำหรับน้อง ๆ ที่อยู่ในช่วงวัยมัธยมปลาย น้อง ๆ หลายคนน่าจะเคยได้ยินเกี่ยวกับการสอบเทียบ GED หรือการสอบเทียบวุฒิเพื่อที่จะไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยกันมาบ้างแล้ว ซึ่งการสอบเทียบรูปแบบนี้ จะทำให้น้อง ๆ ได้วุฒิการศึกษาในระดับมัธยมปลายก่อนที่น้อง ๆ จะเรียนจบจริงในโรงเรียนนั่นเอง และสำหรับน้อง ๆ ที่กำลังสนใจเกี่ยวกับการสอบเทียบที่ว่านี้ บทความนี้จะช่วยทำให้น้อง ๆ เข้าใจเกี่ยวกับการสอบ GED ได้ละเอียดมากขึ้น

 

10 เรื่องที่ต้องรู้ก่อนสอบเทียบ GED 

 

1. สอบเทียบ GED คืออะไร?

อย่างที่พี่ได้มีการกล่าวไปแล้วในตอนต้นว่า “การสอบเทียบ GED” คือการสอบเทียบเพื่อให้ได้วุฒิมัธยมปีที่ 6 โดยการสอบประเภทนี้จะมีชื่อเต็มว่า General Educational Development ซึ่งจะเป็นวุฒิการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา และในประเทศของเราก็สามารถใช้วุฒินี้ในการยื่นเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยได้ หรือน้อง ๆ ที่จะไปเรียนต่อต่างประเทศ ก็สามารถใช้วุฒิ GED ในการยื่นศึกษาต่อได้เช่นเดียวกัน

 

2. สอบเทียบ GED ได้ตอนอายุเท่าไหร่?

สำหรับการสอบ GED น้อง ๆ จะสามารถสอบได้ก็ต่อเมื่อมีอายุ 16 ปีบริบูรณ์ แต่น้อง ๆ จะต้องมีจดหมายยินยอมการสอบจากผู้ปกครองด้วย แต่หากอายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถสมัครสอบได้เลยโดยที่ไม่ต้องใช้ใบยินยอม

 

3. ข้อสอบ GED Science สอบอะไรบ้าง?

สำหรับการสอบเทียบ GED Science หรือวิชาวิทยาศาสตร์ จะเน้นไปที่ Life science, Physical science และ Earth and Space science ข้อสอบจะมีการแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 หัวข้อหลักดังนี้

 

  • การอ่านบทอ่านภาษาอังกฤษ ที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ (Reading for meaning in Science)
  • การออกแบบ และการทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Designing and interpreting science experiments)
  • การอ่านตัวเลข และกราฟที่มีความเกี่ยวข้องกับวิชาวิทยาศาสตร์ (Using numbers and graphics in science)

 

4. ข้อสอบ GED Social Studies สอบอะไรบ้าง?

ในการสอบ GED Social Studies หรือวิชาสังคม จะเน้นไปที่การอ่านวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และการเมืองการปกครอง อีกทั้งยังมีการอ่านตัวเลข, กราฟ, ตาราง และแผนที่ ที่มีความเกี่ยวข้อง จะแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 หัวข้อหลักดังนี้

 

  • ประวัติศาสตร์อเมริกา (U.S. History)
  • การเมืองการปกครอง (Civic and government)
  • เศรษฐศาสตร์ (Economics)
  • ภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์โลก (Geography and the world)

 

5. ข้อสอบ GED Math สอบอะไรบ้าง?

การสอบเทียบ GED Math หรือวิชาคณิตศาสตร์ จะเป็นข้อสอบที่เน้นไปในการใช้สูตร และการคิดเลขให้มีความสอดคล้องกับโจทย์ รวมถึงการแก้ปัญหาทางพีชคณิต จะแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 หัวข้อหลักดังนี้

 

  1. คณิตศาสตร์พื้นฐาน (Basic Math)
  2. เรขาคณิต (Geometry)
  3. พีชคณิตพื้นฐาน (Basic Algebra)
  4. กราฟและฟังก์ชัน (Graphs and function)

 

6. ระดับคะแนนสอบ GED มีอะไรบ้าง? 

ในการสอบ 4 วิชา น้อง ๆ จะต้องทำคะแนนให้ได้ไม่ต่ำกว่า 145 คะแนน จากคะแนนเต็มทั้งหมด 200 คะแนน ซึ่งในแต่ละวิชาจะมีเกณฑ์คะแนน 3 ระดับด้วยกัน ได้แก่

 

  • Passing Score : 145/200 คะแนน
  • College Ready : 165/200 คะแนน
  • College Ready + Credit : 175/200 คะแนน

 

โดยเกณฑ์คะแนนที่จะนำเอาไปใช้ยื่นมหาวิทยาลัย จะอยู่ที่ 145-165 คะแนนขึ้นไป ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยที่น้อง ๆ เลือก ดังนั้นเพื่อให้น้อง ๆ ได้คะแนนสูงตั้งแต่ครั้งแรกที่ลงสอบ การ ติวสอบ GED จึงถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก

7. ข้อดีของการสอบเทียบ GED มีอะไรบ้าง?

 

  1. มีความยืดหยุ่นกว่า เพราะการเตรียมความพร้อมเพื่อสอบ GED น้อง ๆ ไม่ต้องใช้เวลานานเท่าการเรียนในระดับมัธยมปลาย
  2. เป็นการสอบเน้นเฉพาะทักษะที่จำเป็น สามารถนำเอาไปใช้ในชีวิตจริงได้
  3. ได้วุฒิการศึกษาเทียบเท่าในระดับมัธยมปลาย นำเอาไปใช้ยื่นมหาวิทยาลัยในประเทศ และต่างประเทศได้
  4. สามารถเรียนไปพร้อม ๆ กับการทำงานได้ เพราะการเรียน GED หรือติวสอบ GED ไม่ต้องเรียน 5 วันต่อสัปดาห์ และไม่ต้องเรียนตลอดทั้งวัน น้อง ๆ สามารถจัดตารางเวลาได้เอง

 

8. วิธีสมัครและค่าใช้จ่ายในการสอบเทียบ GED

 

การสมัครเพื่อสอบ GED น้อง ๆ สามารถทำการสมัครสอบได้ที่เว็บไซต์ www.ged.com โดยจะมีค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบอยู่ที่ 80 USD / วิชา หรือประมาณ 2,700 บาท หากรวม 4 วิชาจะเป็นเงินทั้งหมด 320 USD หรือประมาณ 10,800 บาท

 

9. สอบเทียบ GED เข้ามหาวิทยาลัย/คณะไหนได้บ้าง?

สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังหาข้อมูลอยู่ว่าการ สอบเทียบ GED เข้าคณะอะไรได้บ้าง พี่ ๆ The Advisor Academy ได้รวบรวมมหาวิทยาลัย และคณะที่สามารถยื่นคะแนนสอบ GED เข้าศึกษาต่อมาให้แล้วที่ด้านล่าง

 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หลักสูตรนานาชาติ)

  • สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ (BBTech)
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ISE)
  • สาขาวิศวะเคมี (ChPE)
  • คณะอักษรศาสตร์ (BALAC)
  • สาขาการเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษา (PGS)
  • สาขาวิทยาศาสตร์จิตวิทยา (JIPP)
  • สถาบันนวัตกรรมบูรณาการ (Bascii)
  • สาขาเคมีประยุกต์ (BSAC)
  • คณะบริหารธุรกิจ (BBA)
  • สาขาการจัดการสื่อสาร (CommArts)
  • สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ (CommDe)
  • สาขาวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม (INDA)
  • คณะเศรษฐศาสตร์ (EBA)

 

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ (TEP/TEPE)
  • สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT)
  • คณะบริหารธุรกิจ (BBA)
  • สาขาโครงการวิเทศคดีศึกษา (IAC)
  • สาขานโยบายสังคมและการพัฒนา (SPD)
  • วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ (PBIC)
  • คณะเศรษฐศาสตร์ (BE)
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง (UDDI)
  • สาขาวิชาการจัดการออกแบบ ธุรกิจ และเทคโนโลยี (DBTM)
  • หลักสูตรอังกฤษและอเมริกันศึกษา (BAS)
  • คณะนิติศาสตร์ (LL.B.)
  • คณะศิลปศาสตร์ (BEC)
  • สาขานวัตกรรมการบริการ (BSI)
  • หลักสูตรโลกคดีศึกษาและการประกอบการสังคม (GSSE)
  • สาขาการเมืองเศรษฐศาสตร์ (PPE)
  • สาขาการเมืองและการระหว่างประเทศ (BIR)
  • คณะวารสารศาสตร์ (BJM)

 

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (หลักสูตรนานาชาติ)

  • คณะวิทยาศาสตร์ (B.Sc.)
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ (B.Eng.)
  • สาขาเทคโนโลยีสร้างสรรค์ (Creative Technology)
  • สาขาสื่อและการสื่อสาร (Media and Communication)
  • คณะศิลปศาสตร์ (Arts)
  • สาขาผู้ประกอบการด้านธุรกิจการเดินทางและธุรกิจบริการ (THM)
  • คณะบริหารธุรกิจ (BBA)

 

วิทยาลัยนานาชาติกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในประเทศ

  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • วิทยาลัยนานาชาติ
  • มหาวิทยาลัยรังสิต
  • มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
  • พระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

 

10. คะแนนสอบ GED เก็บได้นานกี่ปี?

เนื่องจาก GED เป็นวุฒิการศึกษารูปแบบหนึ่ง ดังนั้นคะแนนในการสอบ GED จะสามารถเก็บไว้ได้อย่างถาวร และไม่มีวันหมดอายุ เสมือนกับว่าน้อง ๆ ได้รับวุฒิการศึกษาเมื่อเรียนจบชั้นมัธยมปลาย

10 เรื่องที่ต้องรู้ก่อนสอบเทียบ GED

และทั้งหมดนี้คือสิ่งที่น้อง ๆ ต้องรู้และทำความเข้าใจ เมื่ออยากสอบเทียบ GED เพื่อนำเอาคะแนนไปยื่นศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยในประเทศ และมหาวิทยาลัยต่างประเทศ รวมถึงเพื่อเอาไปใช้ในการทำงาน สำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการสอบ GED เพิ่มเติม หรือน้อง ๆ ที่ต้องการจะลงเรียนคอร์สติว สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่โรงเรียนกวดวิชา The Advisor Academy ที่นี่เรามีการเรียนการสอนที่จัดเต็ม มีการติวเข้มให้น้อง ๆ พร้อมสำหรับลงสนามสอบ และที่สำคัญเรียนสนุก ไม่เครียด ไม่กดดัน อย่ารอช้ารีบสมัครคอร์สลงเรียนเลย!!