BBA จุฬาฯ เรียนอะไร จบมาทำอาชีพอะไรได้บ้าง?

ทำความรู้จัก BBA จุฬาฯ เรียนอะไร จบมาทำอาชีพอะไรได้บ้าง?

          ถ้าพูดถึงคณะอินเตอร์ในใจของน้อง ๆ หลาย ๆ คน เชื่อว่า BBA โดยเฉาะ BBA จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้วล่ะก็จะต้องอยู่ในลิสต์แน่นอนค่ะ! วันนี้พี่เลยจะพาน้อง ๆ มาทำความรู้จักกับหลักสูตรอินเตอร์ฯ ยอดฮิต อย่าง BBA ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้มากขึ้นกัน ว่าเรียนเกี่ยวกับอะไร เรียนกี่ปี ค่าเทอมเท่าไหร่ ใช้คะแนนอะไร จบไปแล้วทำอาชีพอะไรได้บ้าง?

BBA จุฬาฯ คืออะไร เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง?

        คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หรือชื่อที่น้อง ๆ คุ้นหูกันก็คือ BBA นั้น ย่อมาจาก The Bachelor of Business Administration และอีกชื่อที่รู้จักกันในระดับสากลก็คือ Chulalongkorn Business School (CBS) นั่นเอง ซึ่งในคณะนี้อยู่ในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตค่ะ เนื้อหาการเรียนการสอนของ BBA จุฬาฯ จะเน้นไปที่ความรู้เกี่ยวกับการบัญชีระหว่างประเทศ ความเข้าใจในการพัฒนาการค้าและวัฒนธรรมที่หลากหลาย การวิเคราะห์ทางการเงินสำหรับการจัดการธุรกิจที่ทันสมัย ไปจนถึงการจัดการแบรนด์และการตลาดในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบัน

BBA จุฬาฯ มีสาขาอะไรบ้าง?

BBA CU มีสาขาอะไรบ้าง

         คณะ BBA ของจุฬาฯ เป็นหลักสูตร 4 ปี ซึ่งจะประกอบไปด้วย 4 สาขา ซึ่งก็คือ 1. การบัญชี (Accounting), 2. การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Management), 3. การวิเคราะห์ทางการเงินและการลงทุน (Financial Analysis and Investment), 4. การจัดการแบรนด์และการตลาด (Brand and Marketing Management) ให้น้อง ๆ ได้เลือกเรียนตามความสนใจของตัวเองค่ะ

BBA จุฬาฯ เปิดรับสมัครช่วงไหน ต้องใช้คะแนนอะไรยื่นเข้าบ้าง?

BBA จุฬาฯ เปิดรับสมัครช่วงไหน ต้องใช้คะแนนอะไรยื่นเข้าบ้าง?

          สำหรับวันที่ (date) ในการเปิดรับสมัครที่ชัดเจนน้อง ๆ สามารถติดตามข่าวสารการรับสมัครด้วยตัวเองได้ที่เว็บไซต์ของคณะ เพราะในแต่ละปีก็มีกำหนดการแตกต่างกันออกไปเล็กน้อยค่ะ แต่โดยปกติแล้วคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (BBA) จุฬาฯ จะเปิดรับสมัครอยู๋ 2 ช่วงด้วยกันดังนี้ค่ะ

ช่วงที่เปิดรับสมัคร:
1st Round (รอบแรก): ช่วงเดือนพฤศจิกายน
2nd Round (รอบสอง): ช่วงเดือนมีนาคม

ต้องใช้ผลคะแนนอะไรบ้าง?
และในส่วนของผลคะแนนที่ทางคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (BBA) จุฬาฯ กำหนด (Requirements) จะมี 3 ส่วนหลัก ๆ ซึ่งก็คือ 

  1. วุฒิการศึกษามัธยมปลายหรือเทียบเท่า (High School Equivalency)
  • วุฒิม.6
  • GED
  • IGCSE/ A level
  • วุฒิม.ปลายนานาชาติอื่น ๆ     
  1. ผลคะแนนความสามารถด้านภาษาอังกฤษ (English Test)
  • SAT Reading & Writing
  • IELTS หรือ TOEFL
  • CU-TEP 
  • Duolingo
  1. ผลคะแนนความสามารถทางคณิตศาสตร์ (Aptitude Test)
  • SAT Math
  • CU-AAT

สำหรับเกณฑ์คะแนนอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับแต่ละปีหรือแต่ละรอบ ซึ่งน้อง ๆ สามารถเข้าไปเช็คด้วยตัวเองได้ที่ (University Admission) ซึ่งพี่ ๆ ได้รวบรวมเกณฑ์คะแนนทุกคณะ ของมหาวิทยาลัยดังมาไว้ให้น้อง ๆ แล้วค่า

เรียน BBA จุฬาฯ ต้องจ่ายค่าเทอมเท่าไหร่?

          สำหรับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ของจุฬาฯ (BBA CU) จะมีอัตราค่าเล่าเรียนอยู่ที่ประมาณ 87,000 – 131,500 ต่อเทอมค่ะ (ไม่รวมค่าธรรมเนียมต่าง ๆ) แต่ในแต่ละปีอัตราค่าเล่าเรียนอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง น้อง ๆ สามารถสอบถามทางคณะฯ ได้โดยตรงค่ะ

จบจาก BBA จุฬาฯ สามารถทำอาชีพอะไรได้บ้าง?

จบจาก BBA จุฬาฯ สามารถทำอาชีพอะไรได้บ้าง?

         น้อง ๆ ที่จบจาก BBA จุฬาฯ มั่นใจได้เลยค่ะว่าน้อง ๆ จะมีโอกาสสูงที่จะได้เข้าทำงานในบริษัทที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ของจุฬาฯ (BBA CU) เป็นคณะที่มีชื่อเสียงในเรื่องของคุณภาพการเรียนการสอน เนื้อหาที่น้อง ๆ ได้เรียน และกิจกรรมต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย เช่น ชมรมแข่ง Business Case (Case Club) ซึ่งตรงนี้แหละเป็นเหมือนสิ่งที่ประกันได้ว่าน้อง ๆ ที่จบจาก BBA จุฬาฯ มีความรู้ และประสิทธิภาพในการทำงานในชีวิตจริงค่ะ

สาขาการบัญชี (Accounting)

-นักบัญชี/พนักงานบัญชี/เจ้าหน้าที่ทางการเงิน
-ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี 
-ผู้ตรวจสอบบัญชี
-ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต 
-ที่ปรึกษาทางบัญชี

สาขาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Management)

-บริษัทนำเข้า-ส่งออก
-นักปฏิบัติงานในหน่วยงานด้านการค้าและธุรกิจระหว่างประเทศ
-ฝ่ายนำเข้า-ส่งออก
-ฝ่ายจัดซื้อต่างประเทศ
-ฝ่ายการตลาดต่างประเทศ
-เจ้าของธุรกิจนำเข้าสินค้า
-นักเจรจาต่อรองธุรกิจ
-พนักงานองค์กรด้านการส่งออก ทั้งภาครัฐและเอกชน

สาขาการวิเคราะห์ทางการเงินและการลงทุน (Financial Analysis and Investment)

-พนักงานการเงิน
-นักวิชาการเงิน
-นักวิชาการเงินและพัสดุ
-ผู้ประกอบวิชาชีพในธุรกิจหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการแนะนำการลงทุน 
-ผู้จัดการกองทุน/ผู้บริหารการลงทุนส่วนบุคคล 
-นักบริหารการเงินในองค์กรธุรกิจภาคเอกชนและภาครัฐ
-นักบริหารการเงินในตลาดเงิน
-นักบริหารการเงินในตลาดทุน

สาขาการจัดการแบรนด์และการตลาด (Brand and Marketing Management)

-นักวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด
-นักการตลาดดิจิทัล
-นักวิจัยตลาด / นักวิเคราะห์การตลาด
-ที่ปรึกษาด้านการตลาด
-นักวิชาการด้านการตลาด
-นักจัดกิจกรรมทางการตลาด
-นักการตลาดระหว่างประเทศ
-นักสื่อสารเนื้อหาทางการตลาด
-นักประชาสัมพันธ์
-นักโฆษณา

          เป็นอย่างไรกันบ้างคะน้อง ๆ สำหรับข้อมูลของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ของจุฬาฯ (BBA CU) ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของรายละเอียดคณะ สาขา เนื้อหาการเรียน ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัคร ผลคะแนนที่คณะต้องการ รวมถึงแนวทางอาชีพของแต่ละสาขาในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีด้วยค่ะ พี่เชื่อว่าบทความนี้น่าจะตอบคำถาม และไขข้อสงสัยให้น้อง ๆ หลายคนได้เยอะเลยใช่มั้ยล่ะคะ ถ้าน้อง ๆ สนใจอยากรู้ข้อมูลแบบนี้ของคณะอื่น ๆ อีกสามารถรอติดตามได้ที่เว็บไซต์ The Advisor เลยน้าา