University Admission 2023

สวัสดีน้อง ๆ TCAS 66 ทุกคน วันนี้พี่ ๆ The Advisor ได้รวบรวมคะแนนเข้าคณะอินเตอร์ มหาวิทยาลัยรัฐชั้นนำในรอบ Admission ปีการศึกษา 2565 อาทิเช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยศิลปากรณ์ มาไว้ให้น้อง ๆ แล้วค่ะ น้อง ๆ สามารถดูเกณฑ์คะแนนได้ที่ตารางด้านล่างนี้เลย ข้อดีของการรู้เกณฑ์คะแนนขั้นต่ำของแต่ละคณะ และมหาวิทยาลัย ก็คือน้อง ๆ จะได้รู้ว่าต้องสอบอะไรบ้าง และในแต่ละข้อสอบต้องมีคะแนนขั้นต่ำเท่าไหร่ ถึงจะสอบติดคณะและมหาวิทยาลัยในฝัน

Chulalongkorn University

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Chulalongkorn University:

จากเกณฑ์ Admission หลักสูตรนานาชาติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย น้อง ๆ จะเห็นได้ว่ามี 3 คณะ/สาขาวิชาที่ใช้ GPAX คือ 1. สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ (BBTech), 2. คณะเศรษฐศาสตร์ (EBA) และ 3. สาขาการเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษา (PGS) ซึ่งคณะที่ใช้ GPAX สูงสุดคือคณะ PGS ที่ใช้คะแนน GPAX อยู่ที่ 3.00 ส่วน BBTech และ EBA จะใช้คะแนน GPAX เท่ากันคือ  2.75 

ในส่วนของคะแนน GED ในหลาย ๆ คณะ/สาขาวิชาจะใช้คะแนนตามเกณฑ์ของทปอ. คือคะแนนขั้นต่ำ 145 ทุกรายวิชา และไม่กำหนดคะแนนรวมขั้นต่ำ จะมีเพียง 2 คณะ/สาขาวิชา ที่ใช้คะแนนไม่เหมือนกับคณะอื่น ๆ คือ 1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ISE) ที่ใช้คะแนนขั้นต่ำ 165 ทุกรายวิชา 2. เคมีประยุกต์ (BSAC) ใช้คะแนนขั้นต่ำ 145 ยกเว้นวิชา Science ที่ใช้คะแนนขั้นต่ำ 160 ค่ะ

ในส่วนของ English Test หรือผลทดสอบวัดระดับความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ น้อง ๆ ต้องเลือกยื่นคะแนน IELTS, TOEFL, CU-TEP หรือ Duolingo English Test อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าดูจากตารางน้อง ๆ จะเห็นได้ว่า คณะอักษรศาสตร์ (BALAC) มีเกณฑ์คะแนนในส่วนของ IELTS, TOEFL, และ Duolingo สูงที่สุด นั่นก็คือ IELTS Overall Band 7.0 ขึ้นไป, TOEFL 95 คะแนนขึ้นไป, และ Duolingo 115 คะแนนขึ้นไป สาเหตุที่คณะอักษรศาสตร์ต้องการคะแนนภาษาอังกฤษสูงที่สุดเป็นเพราะว่า น้อง ๆ จะต้องเรียนภาษาและวรรณกรรมในเชิงลึก จึงจำเป็นต้องมีความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษในระดับที่ดีมาก ดังนั้นหากใครต้องการเข้าคณะอักษรศาสตร์ (BALAC) น้อง ๆ ต้องเตรียมคะแนนสอบภาษาอังกฤษให้ได้คะแนนสูง ๆ จะได้สอบติดตั้งแต่รอบแรกค่ะ

ในส่วนของคณะหรือสาขาวิชาที่ใช้คะแนนภาษาอังกฤษสูงรองจาก BALAC ก็คือ 1. สถาบันนวัตกรรมบูรณาการ (Bascii), 2. คณะบริหารธุรกิจ Business Administration (BBA), 3. คณะนิเทศศาสตร์ (CommArts), 4. สาขาการเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษา (PGS) และ 5. สาขาวิทยาศาสตร์จิตวิทยา (JIPP) จะใช้คะแนน IELTS เท่ากันคือ IELTS Overall Band 6.5 จะมีเพียงสาขาการเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษา (PGS) ที่กำหนดให้คะแนน IELTS ทั้ง 4 ทักษะต้องไม่ต่ำกว่า 6.0 นั่นเองค่ะ

ในส่วนของคณะ/สาขาวิชาอื่น ๆ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยน้อง ๆ มีคะแนน IELTS ขั้นต่ำคือ Overall Band 6.0 ขึ้นไป จึงจะสามารถยื่นเข้าเรียนต่อได้ค่ะ 

คณะ/สาขาวิชาที่รับคะแนน Duolingo ซึ่งเป็นการทดสอบวัดระดับความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษรูปแบบใหม่ได้แก่ 1. ISE, 2. Bascii, 3. BSAC, 4. EBA, 5. CommArts, 6. CommDe และ 7. BALAC ซึ่งแต่ละคณะต้องการคะแนน Duolingo ที่แตกต่างกันออกไปไล่ตั้งแต่ 105 คะแนน จนไปถึง 130 คะแนน 

ในส่วนของ Aptitude Test หรือข้อสอบวัดความถนัด น้อง ๆ สามารถเลือกยื่นคะแนนอย่างใดอย่างหนึ่งได้ไม่ว่าจะเป็น SAT, CU-AAT, หรือ ACT ถ้าดูจากตารางน้อง ๆ จะเห็นได้ว่าคณะ/สาขาวิชาที่เลือกยื่นได้แค่คะแนน SAT และ CU-AAT และมีคะแนนรวมสูงที่สุด คือ 1. BBA ใช้ SAT 1,270, CU- AAT 1,200, 2. PGS ที่ใช้ SAT และ CU-AAT ขั้นต่ำที่ 1,200 3. JIPP ใช้ SAT 1,100 หรือ CU- AAT 1,030 

น้อง ๆ ที่ต้องการยื่นคะแนนเข้าสาขาวิชาเคมีประยุกต์ (BSAC) นอกจากคะแนน SAT Math 490 และ Verbal 500 หรือ CU-AAT Math 450 แล้ว ยังสามารถเลือกยื่น CU-ATS 380 ในวิชาเคมีได้ด้วยค่ะ และในสาขาวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม (INDA) น้องสามารถเลือกยื่น SAT Math 750 และ Verbal 450 หรือ CU-AAT Math 550 และ Verbal 400 น้อง ๆ เลือกยื่น CU-TAD > 50% ได้ค่ะ

ในส่วนของจำนวนนักศึกษาที่คณะ/สาขาวิชาเปิดรับนั้น จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคณะ/สาขาวิชา และขึ้นอยู่กับรอบที่น้อง ๆ เลือกยื่นด้วยค่ะ ตรงนี้พี่อยากแจ้งให้ทราบเพิ่มเติมว่าบางคณะ/สาขาวิชากำหนดเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำในแต่ละรอบไม่เท่ากัน เพื่อป้องกันความผิดพลาดน้อง ๆ จะต้องศึกษาเพิ่มเติมให้ละเอียดก่อนยื่นนะคะ

ส่วนสุดท้ายคือค่าเล่าเรียนรายเทอมที่พี่ได้รวบรวมของทุกคณะ/สาขาวิชามาให้น้อง ๆ นั้น ในการเข้าไปเรียนจริง ๆ อาจจะมีค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เพิ่มเติม และในแต่ละเทอมหรือปี อาจจะมีการปรับเปลี่ยน ซึ่งตรงนี้น้อง ๆ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้จากคณะ/สาขาวิชาโดยตรงค่ะ

Thammasat University

รวมเกณฑ์คะแนนธรรมศาสตร์อินเตอร์ 2023

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Thammasat University:

จากเกณฑ์ Admission หลักสูตรอินเตอร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกณฑ์ในส่วนของ High School Equivalency น้อง ๆ จะเห็นได้ว่า มีคณะที่ใช้ GPAX อยู่ 12 คณะ/สาขาวิชาเรียงจากสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ 1. คณะที่ใช้ GPAX ขั้นต่ำที่ 3.00 มี 3 คณะ/สาขาวิชา คือ 1.1. คณะสถาปัตยกรรมและผังเมือง (DBTM) 1.2. สาขาอังกฤษ-อเมริกันศึกษา (BAS) และ 1.3. คณะวารสารศาสตร์ (BJM) 2. คณะที่ใช้ GPAX ขั้นต่ำที่ 2.8 มีอยู่ 1 คณะ ได้แก่คณะรัฐศาสตร์ (BIR) 3. คณะที่ใช้ GPAX ขั้นต่ำที่ 2.75 มีอยู่ 1 สาขา ได้แก่สาขาการสื่อสารภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ (BEC) 4. คณะที่ใช้ GPAX ขั้นต่ำที่ 2.5 มีอยู่ 6 คณะได้แก่ 4.1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสิรินธร (SIIT Engine) 4.2. คณะการจัดการ วิทยาลัยเทคโนโลยีสิรินธร (SIIT MT/EM) 4.3. วิทยาลัยนวัตกรรมการบริการ (BSI) 4.4. วิทยาลัยโลกคดีศึกษา (GSSE) 4.5. 

คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ (SPD) และ 4.6. สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (PPE) และสุดท้าย 5. คณะที่ใช้ GPAX ขั้นต่ำที่ 2.0 มีเพียง 1 สาขา คือโครงการวิเทศน์ศึกษา อาเซียน-จีน (IAC) นั่นเองค่ะ

เกณฑ์คะแนน GED หลาย ๆ คณะของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่ได้กำหนดคะแนนรวมขั้นต่ำ แต่จะมีเพียง 5 คณะ/สาขาวิชาที่กำหนดคะแนน GED รวมขั้นต่ำ เรียงจากสูงสุดไปต่ำสุด ก็คือ 1. BEC คะแนน GED ขั้นต่ำ 660 คะแนน 2. BAS คะแนน GED ขั้นต่ำ 660 คะแนน 3. IAC คะแนน GED ขั้นต่ำ 660 คะแนน 4. BIR คะแนน GED ขั้นต่ำ 660 คะแนน และ 5. DBTM คะแนน GED ขั้นต่ำ 600 คะแนน และถ้าดูจากตารางน้อง ๆ จะเห็นได้ว่าในบางคณะจะมีเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำรายวิชาแตกต่างกันออกไปอีกด้วยค่ะ

ในส่วนของ English Test หรือผลทดสอบวัดระดับความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ น้อง ๆ ที่ต้องการเข้า สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) ไม่จำเป็นต้องยื่นคะแนน English Test แต่สำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการคณะหรือสาขาวิชาอื่น ๆ สามารถเลือกยื่นคะแนนอย่างใดอย่างหนึ่งเช่น IELTS, TOEFL, หรือ TU- GET 

ถ้าดูจากตารางน้อง ๆ จะเห็นว่ามีอยู่ 4 คณะ/สาขาวิชาที่ใช้คะแนน IELTS 6.5 ซึ่งก็คือ 1. BE, 2. BEC 3. BAS และ 4. BJM ในส่วนของ DBTM จะเป็นคณะที่ใช้คะแนนภาษาอังกฤษต่ำสุด คือ IELTS Overall Band 5.0, TOEFL 45 และ TU-GET 45 คะแนน ในขณะที่คณะอินเตอร์ที่อื่น ๆ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะใช้เกณฑ์คะแนนทักษะภาษาอังกฤษใกล้เคียงกันนั่นก็คือคะแนน IELTS Overall Band 6.0, TOEFL 61 และ TU-GET 61 แต่สำหรับคณะนิติศาสตร์ (LL.B.) กำหนดให้คะแนน IELTS ทั้ง 4 ทักษะต้องไม่ต่ำกว่า Band 5.5 ค่ะ

ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ น้อง ๆ สามารถเลือกยื่นระหว่าง SAT หรือ GSAT ในส่วนของ Aptitude Test หรือคะแนนความถนัด มี 6 คณะที่รับเฉพาะคะแนน SAT เท่านั้น คือ 1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ (TEP/ TEPE) 2. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง (UDDI), 3. คณะสถาปัตยกรรมและผังเมือง (DBTM), 4. คณะวารสารศาสตร์ (BJM), 5. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ (SPD), 6. สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (PPE) มี 2 คณะน้อง ๆ สามารถเลือกยื่นผลสอบได้ทั้ง SAT, GSAT, ACT โดยเลือกยื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งก็คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสิรินธร (SIIT Engine) และคณะการจัดการ วิทยาลัยเทคโนโลยีสิรินธร (SIIT MT/EM) และมี 3 คณะที่ไม่ต้องยื่นคะแนนในส่วนนี้เลย ได้แก่ 1. คณะนิติศาสตร์ (LL.B.) 2. สาขาวิชานวัตกรรมการบริการ (BSI) และ 3. วิทยาลัยโลกคดีศึกษา (GSSE)

ในส่วนของจำนวนนักศึกษาที่คณะ/สาขาวิชาเปิดรับนั้น จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคณะ/สาขาวิชา และขึ้นอยู่กับรอบที่น้อง ๆ เลือกยื่นด้วยค่ะ ตรงนี้พี่อยากแจ้งให้ทราบเพิ่มเติมว่าบางคณะ/สาขาวิชากำหนดเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำในแต่ละรอบไม่เท่ากัน เพื่อป้องกันความผิดพลาดน้อง ๆ จะต้องศึกษาเพิ่มเติมให้ละเอียดก่อนยื่นนะคะ

ส่วนสุดท้ายคือค่าเล่าเรียนสำหรับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พี่ได้รวบรวมมาให้ทั้งรายเทอมและรายปี สำหรับข้อมูลที่แน่นอนน้อง ๆ จะต้องเช็คกับทางมหาวิทยาลัยโดยตรงค่ะ ซึ่งตรงนี้อาจจะมีการปรับเปลี่ยนไปในแต่ละปี และอาจจะมีค่าธรรมเนียมทางการศึกษาอื่น ๆ เพิ่มเติมนอกจากนี้ด้วยค่ะ

พี่เชื่อว่าทุกคณะอินเตอร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่พี่ได้เข้าเกณฑ์ขั้นต่ำมาแจ้งน้อง ๆ เป็นคณะที่มีการแข่งขันสูง เพราะเป็นคณะในฝันของน้อง ๆ หลายคนทั่วประเทศ ดังนั้น สำหรับน้องที่อ่านมาถึงตรงนี้พี่ก็ขออวยพรให้น้อง ๆ ได้สมหวัง สอบติดคณะในฝันกันทุกคนเลยนะคะ แต่ถ้าใครอยากมีตัวช่วยไม่ว่าจะเป็นเรื่องติวสอบ หรือวางแผนการเรียน พี่ ๆ ก็มีคอร์สเตรียมสอบเข้าคณะอินเตอร์ให้ครบ รวมถึงพร้อมให้คำปรึกษาน้อง ๆ ให้ไปถึงฝั่งฝันกันทุกคนเลยค่ะ สนใจสอบถามเพิ่มเติมทักพี่ ๆ มาที่ไลน์ได้เลยน้า

Mahidol University International College

รวมเกณฑ์คะแนนมหิดลอินเตอร์

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล Mahidol University International College:

จากเกณฑ์ Admission หลักสูตรอินเตอร์ของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลน้อง ๆ จะเห็นได้ว่าจะไม่มีการใช้ GPAX เลย ซึ่งแปลว่าน้อง ๆ สามารถไปลุยคะแนน GED, English Test และ Aptitude Test ได้อย่างเต็มที่ โดยในส่วนคะแนนรวมขั้นต่ำของ GED ทุกคณะและสาขาวิชาจะกำหนดคะแนนขั้นต่ำเท่ากันคือ 660 คะแนนขึ้นไป โดยที่แต่ละรายวิชาจะต้องมีคะแนนไม่ต่ำกว่า 145 คะแนน

จากตาราง English Test หรือผลทดสอบวัดระดับความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ น้อง ๆ สามารถเลือกได้ว่าจะยื่นผลสอบอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่าง IELTS, TOEFL หรือ Duolingo ซึ่งทุกคณะหรือสาขา จะมีเกณฑ์ขั้นต่ำเท่ากันอยู่ที่ IELTS 6.0 (IELTS Writing ต้องไม่ต่ำกว่า 6.0), TOEFL 69 และ Duolingo 100 คะแนนค่ะ ตรงนี้น้อง ๆ สามารถเลือกสอบ English Test ตามที่ถนัดได้เลย 

ในส่วนของ Aptitude Test หรือคะแนนความถนัด น้อง ๆ สามารถเลือกยื่นคะแนนอย่างใดอย่างหนึ่งได้ระหว่าง SAT หรือ ACT จากตาราง น้อง ๆ จะเห็นได้ว่า วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนดคะแนนขั้นต่ำเฉพาะ SAT Math และ ACT Math เท่านั้น จะไม่มีการใช้คะแนนในส่วนของ SAT Verbal และ ACT Verbal เลย และจะมีเพียง 2 คณะเท่านั้นที่ไม่ต้องยื่นคะแนนความถนัด คือ 1. สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ (CommDe) และ 2. คณะศิลปศาสตร์ (Arts) ดังนั้นถ้าน้อง ๆ คนไหนอยากเข้า 2 คณะนี้พี่แนะนำให้ไปลุยที่ GED และ English Test ให้เต็มที่เลยค่ะ

ในส่วนของรอบการสมัครของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล จะมีอยู่ด้วยกัน 4 รอบ โดยในรอบแรกจะเปิดรับสมัครช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม ในรอบที่ 2 จะเปิดรับสมัครช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม รอบที่ 3 จะเปิดรับสมัครช่วงเดือนตุลาคม และในรอบสุดท้ายคือรอบที่ 4 จะเปิดรับสมัครในช่วงเดือนมกราคม สำหรับวันที่ในการรับสมัครของแต่ละรอบน้อง ๆ จะต้องคอยอัปเดตกับทางมหาลัยค่ะ ซึ่งในแต่ละปีก็จะกำหนดแตกต่างกันออกไป และสำหรับจำนวนที่รับสมัครของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลจะไม่มีการจำกัดจำนวนผู้สมัครค่ะ

ในส่วนของค่าเล่าเรียนของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล พี่ได้รวบรวมเอาอัตราค่าเรียนของทั้ง 4 ปีมาให้น้อง ๆ ได้ดูกันคร่าว ๆ ค่ะ ซึ่งในส่วนของค่าเทอมแต่ละเทอม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติม อย่างค่าธรรมเนียมทางการศึกษาต่าง ๆ ตรงนี้น้อง ๆ จะต้องสอบถามกับทางมหาวิทยาลัยโดยตรงนะคะ ซึ่งในแต่ละปีทางมหาวิทยาลัยอาจจะมีการปรับเปลี่ยนอัตราค่าเล่าเรียนค่ะ

Kasetsart University

รวมเกณฑ์คะแนนม.เกษตรฯ อินเตอร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Kasetsart University:

จากเกณฑ์ Admission หลักสูตรอินเตอร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในส่วนของ High School Equivalency จะเห็นได้ว่า มี 8 คณะ/สาขาวิชาที่ต้องยื่นคะแนน GPAX ซึ่งคณะ/สาขาวิชาที่ใช้ GPAX ขั้นต่ำ 2.5 มีทั้งหมด 5 คณะ/สาขาวิชา ก็คือ 1. คณะบริหารธุรกิจ (BBA) 2. สาขาวิชาการตลาด (KUBIM) 3. สาขาวิชาเคมีบูรณาการ (Integrated Chemistry) 4. สาขาชีวภาพและเทคโนโลยี (Biological Science) 5. คณะวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) คณะ/สาขาวิชาที่ใช้ GPAX ขั้นต่ำ 2.25 คือคณะเศรษฐศาสตร์ (BEcon) คณะ/สาขาวิชาที่ใช้ GPAX ขั้นต่ำ 2.2 คือสาขาการประกอบการ (EEBA) และคณะ/สาขาวิชาที่ใช้ GPAX ขั้นต่ำ 2.0 คือสาขาเทคโนโลยีโพลิเมอร์ (Polymer Science and Technology) โดยที่คณะอุตสาหกรรมการเกษตร (AIIP), สาขาการจัดการการท่องเที่ยว (KITMAN), สาขาเกษตรเขตร้อน (Tropical Agri), และสาขาวิศวการบินและอวกาศ (IDDP) จะไม่มีการใช้ GPAX ค่ะ

ในส่วนของคะแนน GED ในหลาย ๆ คณะ/สาขาวิชาจะใช้คะแนนตามเกณฑ์ของทปอ. แต่จะมีเพียง 3 คณะที่กำหนดคะแนนรวมขั้นต่ำ 660 คือ 1. สาขาวิชาเคมีบูรณาการ (Integrated Chemistry), 2. สาขาชีวภาพและเทคโนโลยี (Biological Science) และ 3. สาขาเทคโนโลยีโพลิเมอร์ (Polymer Science and Technology)

จากตาราง English Test หรือผลทดสอบวัดระดับความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ น้องๆ จะต้องเลือกยื่นคะแนนทักษะภาษาอังกฤษ ระหว่าง IELTS, TOEFL หรือ KU-EPT วิชาใดวิชาหนึ่ง น้อง ๆ จะเห็นได้ว่า 3 คณะที่กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำของ IELTS สูงที่สุดคือ IELTS Band 5.5 มีทั้งหมด 5 คณะ/สาขาวิชาด้วยกัน ได้แก่ 1. คณะบริหารธุรกิจ (BBA) 2. สาขาวิชาการตลาด (KUBIM) 3. คณะอุตสาหกรรมการเกษตร (AIIP) 4. สาขาวิศวการบินและอวกาศ (IDDP) และ 5. คณะวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และในส่วนของ TOEFL มีอยู่ 3 คณะที่กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำของ TOFEL สูงสุด ได้แก่สาขาวิศวการบินและอวกาศ (IDDP) ที่กำหนดเกณฑ์ TOEFL ขั้นต่ำอยู่ที่ 79 

โดยที่สาขาวิศวการบินและอวกาศ (IDDP) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) จะไม่มีกำหนดรับผลสอบของ KU-EPT ค่ะ ซึ่งแปลว่าน้อง ๆ จะเลือกยื่นได้แค่ IELTS และ TOEFL อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

Srinakharinwirot University

รวมเกณฑ์คะแนน ม.ศิลปากร อินเตอร์ 2023

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University:

จากเกณฑ์ Admission หลักสูตรอินเตอร์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ น้อง ๆ จะเห็นได้ว่า ทางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ไม่ได้กำหนดให้มีการยื่น GPAX และแม้ว่าจะไม่ได้มีการกำหนดคะแนนรวมขั้นต่ำของ GED แต่ว่าในส่วนคะแนนขั้นต่ำรายวิชาของ GED นั้นน้อง ๆ จะต้องมีคะแนนแต่ละรายวิชาไม่ต่ำกว่า 145 คะแนนค่ะ

จากตาราง English Test หรือผลทดสอบวัดระดับความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ จะมี 4 คณะ/สาขาวิชาที่น้อง ๆ สามารถเลือกยื่นผลสอบภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ระหว่าง IELTS, TOEFL หรือ SWU-SET ซึ่งก็คือ 1. คณะเศรษฐาสตร์ (BE), 2. สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ (English for Career), 3. สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (English for Communication), 4. สาขาการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (Intercultural Communication) มี 2 คณะ/สาขาวิชาที่เลือกยื่นได้แค่ 2 ผลสอบระหว่าง IELTS, TOEFL โดยต้องเลือกยื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งก็คือ 1. สาขาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยื่น (Sustainable Hospitality) และ 2. คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ (Petroleum and Natural Gas Engineering) และมี 2 คณะ/สาขาวิชาที่เลือกยื่นได้แค่ผลสอบ IELTS ซึ่งก็คือ 1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอนเสิร์ตและมัลติมีเดีย โดยต้องมีคะแนน IELTS ขั้นต่ำอยู่ที่ Band 5.5 และ 2. คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมด้านความปลอดภัย และการพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ (Computer Security and Forensics Computing Engineering) โดยต้องมีคะแนน IELTS ขั้นต่ำอยู่ที่ Band 5.0

สำหรับคณะอินเตอร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จะไม่มีเกณฑ์คะแนนในส่วนของคะแนนความถนัด (Aptitude Test) ดังนั้น พี่แนะนำไปลุยที่ GED และ English Test ให้ได้เยอะ ๆ นะคะ เพราะน้องจะต้องใช้คะแนนแค่ 2 ส่วนนี้เท่านั้นในการยื่น Admission นั่นเองค่ะ

ในส่วนของจำนวนนักศึกษาที่คณะ/สาขาวิชาเปิดรับนั้น จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคณะ/สาขาวิชา และขึ้นอยู่กับรอบที่น้อง ๆ เลือกยื่นด้วยค่ะ ตรงนี้พี่อยากแจ้งให้ทราบเพิ่มเติมว่าบางคณะ/สาขาวิชากำหนดเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำในแต่ละรอบไม่เท่ากัน เพื่อป้องกันความผิดพลาดน้อง ๆ จะต้องศึกษาเพิ่มเติมให้ละเอียดก่อนยื่นนะคะ

และในส่วนสุดท้าย ซึ่งก็คือค่าเล่าเรียนรายเทอมที่พี่ได้รวบรวมของทุกคณะ/สาขาวิชามาให้น้อง ๆ นั้น ในการเข้าไปเรียนจริง ๆ อาจจะมีค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เพิ่มเติม และในแต่ละเทอมหรือปี อาจจะมีการปรับเปลี่ยน ซึ่งตรงนี้น้อง ๆ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้จากคณะ/สาขาวิชาโดยตรงค่ะ

Silpakorn University

มหาวิทยาลัยศิลปากร Silpakorn University:

จากตารางเกณฑ์ Admission หลักสูตรอินเตอร์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ในส่วนของ High School Equivalency ทางมหาวิทยาลัยศิลปากรไม่ได้กำหนดให้มีการใช้ GPAX และในส่วนคะแนนรวมขั้นต่ำของ GED ก็ไม่ได้มีเกณฑ์คะแนนรวมขั้นต่ำเช่นเดียวกันค่ะ แต่มีข้อแม้คือ ในแต่ละรายวิชาน้อง ๆ จะต้องมีคะแนนไม่ต่ำกว่า 145 คะแนนนั่นเอง

จากตาราง English Test หรือผลทดสอบวัดระดับความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ จะมีเพียง 1 คณะ/สาขาวิชาที่น้อง ๆ สามารถเลือกยื่นได้ทั้ง 3 ผลสอบ โดยต้องเลือกยื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่าง IELTS, TOEFL หรือ CU-TEP คือคณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี (Business and Technology) หากน้อง ๆ สังเกตดี ๆ จะเห็นได้ว่าทุกคณะจะมีเกณฑ์คะแนน IELTS ขั้นต่ำเท่ากัน คือ IELTS Overall Band 5.5 แต่สำหรับน้อง ๆ ที่จะเลือกยื่นผลสอบ TOEFL ต้องเช็คให้ดี ๆ นะคะเพราะว่าแต่ละคณะจะกำหนดคะแนน TOEFL ขั้นต่ำไม่เท่ากันค่ะ โดยที่คณะ/สาขาวิชาที่กำหนดคะแนน TOEFL 72 มีอยู่ 2 สาขา ซึ่งก็คือ 1. คณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี (Business and Technology) และ 2. คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโรงแรม (Hotel Management) และคณะ/สาขาวิชา ที่กำหนด TOEFL ขั้นต่ำอยู่ที่ 61 มีทั้งหมด 2 คณะ/สาขาวิชาค่ะ ซึ่งก็คือ 1. คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการแบรนด์หรู (Luxury Brand Management), 2. คณะบริหารธุรกิจ สาขาการสื่อสารดิจิทัล (Digital Communication) 

ในส่วนของ Aptitude Test หรือคะแนนความถนัด น้อง ๆ ที่จะเข้า คณะบริหารธุรกิจ (BBA) ในทุกสาขาวิชา ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร จะมีเกณฑ์ขั้นต่ำการรับ Admission ที่เท่ากัน นั่นก็คือน้อง ๆ จะต้องยื่นคะแนน SAT Verbal ขั้นต่ำที่ 450 คะแนนค่ะ มีเพียงคณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี (Business and Technology) เท่านั้นที่น้อง ๆ ไม่ต้องยื่นคะแนนในส่วนนี้ค่ะ

ในส่วนของจำนวนนักศึกษาที่คณะ/สาขาวิชาเปิดรับนั้น จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคณะ/สาขาวิชา และขึ้นอยู่กับรอบที่น้อง ๆ เลือกยื่นด้วยค่ะ ตรงนี้พี่อยากแจ้งให้ทราบเพิ่มเติมว่าบางคณะ/สาขาวิชากำหนดเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำในแต่ละรอบไม่เท่ากัน เพื่อป้องกันความผิดพลาดน้อง ๆ จะต้องศึกษาเพิ่มเติมให้ละเอียดก่อนยื่นนะคะ

และส่วนสุดท้าย ซึ่งก็คือค่าเล่าเรียนของคณะอินเตอร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พี่ ๆ ได้รวบรวมมาให้เห็นอัตราค่าเล่าเรียนรายปีค่ะ หากว่าน้อง ๆ ต้องการทราบข้อมูลในส่วนของค่าเล่าเรียนรายเทอม หรือค่าธรรมเนียมทางการศึกษาอื่น ๆ เพิ่มเติม น้อง ๆ สามารถสอบถามกับทางมหาวิทยาลัยได้โดยตรงค่ะ

Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save