การสอบเทียบ GED คืออะไร?

การสอบเทียบ GED คืออะไร? ยื่นเข้าคณะอะไรได้บ้าง?

น้องๆ หลายคนที่กำลังมองหาการเข้าเรียนต่อในรั้วมหาวิทยาลัยคงเคยได้ยินการสอบเทียบวุฒิด้วยผลสอบ GED กันมาบ้างแล้ว ซึ่งผลการสอบ GED เป็นที่ยอมรับในหลักสูตรนานาชาติในหลายมหาวิทยาลัย อีกทั้งสามารถใช้ยื่นเข้าสมัครเรียนต่อในต่างประเทศได้อีกด้วย

เพื่อให้น้องๆ เข้าใจการสอบ GED ได้ดียิ่งขึ้น มาทำความรู้จักอย่างละเอียดกันเลยดีกว่า ว่า GED คืออะไร ต้องสอบอย่างไร และสอบ GED เข้ามหาลัยไหนได้บ้าง จะได้ไม่พลาดโอกาสเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำ พร้อมแล้วมาดูกันเลย !

GED คือ อะไร ?

GED คืออะไร

GED คือ General Educational Development เป็นการสอบเทียบวุฒิการศึกษาระดับ High School ของระบบการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นการสอบเทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเหมือนในไทยบ้านเรา โดยกระทรวงศึกษาธิการได้รับรองวุฒิการศึกษา GED ให้เทียบเท่าได้กับวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของประเทศไทยอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา

การสอบเทียบ ม.6 ด้วยการสอบ GED ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นที่ยอมรับของมหาวิทยาลัยชั้นนำต่าง ๆ ทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะหลักสูตรนานาชาติ (International Program) รวมทั้งการศึกษาต่อต่างประเทศที่ Pearson VUE เป็นผู้ควบคุมดูแลและให้การรับรองอีกด้วย

การสอบ GED ดีอย่างไร ?

การสอบ GED ดียังไง

GED เป็นวุฒิการศึกษาที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ซึ่งมาจาก American Council on Education (ACE) กรุงวอชิงตัน ดีซี ที่จัดการสอบนี้ขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกให้นักเรียนที่ไม่ได้เรียนตามระบบปกติ เช่น นักกีฬา การศึกษานอกระบบ หรือผู้ที่เรียนจากที่บ้าน (Home School) เป็นต้น ให้สามารถเข้าสอบเทียบวุฒิม.ปลาย ก่อนยื่นเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีต่อไป

นอกจากนี้ ระบบการสอบสามารถลงทะเบียนสอบได้ทุกสัปดาห์ เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เข้าเรียนตามภาคปกติ และเป็นโอกาสดีสำหรับน้องๆ ที่มีทักษะด้านภาษาอังกฤษให้สามารถไปยื่นเรียนต่อที่ต่างประเทศได้อีกด้วย

GED สอบวิชาอะไรบ้าง และเท่าไหร่ถึงจะผ่าน ?

GED สอบวิชาอะไรบ้าง

การสอบ GED จะแบ่งออกเป็น 4 รายวิชา ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด โดยจะเน้นความรู้พื้นฐาน การเชื่อมโยง ตรรกะและการคิดวิเคราะห์ ได้แก่

1. GED Reasoning Through Language Arts (RLA)

ข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษที่รวมเนื้อหาทั้งวิชา Reading และ Writing เข้าด้วยกัน โดยใช้เวลาสอบ 150 นาที ข้อสอบมีทั้งแบบ Multiple Choices, Drag and Drop, Select and Area และ Drop Down เพื่อวัดทักษะด้านการอ่าน แกรมมาร์พื้นฐาน และการเขียนเรียงความแบบ Argumentative

ข้อสอบ RLA จะแบ่งออกเป็น 3 พาร์ท 150 นาที ได้แก่

  • พาร์ทที่ 1 (30 นาที) – Reading มีบทความมาให้ 2 เรื่อง ได้แก่ เรื่องแต่ง หรือบทความทั่วไป แล้วตอบคำถาม ให้เวลา 30 นาที
  • พาร์ทที่ 2 (45 นาที) – Extended Response เป็นการเขียน Essay วิเคราะห์และสรุป 2 บทความที่มีความขัดแย้งกัน
  • พัก 10 นาที
  • พาร์ทที่ 3 (65 นาที) – Reading and Standard English Convention ให้อ่านบทความจากนั้นตอบคำถามให้ได้ และมีบทความวัดความรู้ด้านแกรมมาร์พื้นฐาน

 

2. GED Social Studies

การทดสอบแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อ:

ข้อสอบวิชาสังคมศึกษาและประวัติศาสตร์ ใช้เวลาสอบ 70 นาที ข้อสอบจะเน้นที่การวิเคราะห์ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์และการเมืองการปกครอง รวมทั้งการอ่านตัวเลข กราฟ ตาราง และแผนที่ที่เกี่ยวข้องในด้านสังคมและประวัติศาสตร์ โดยเนื้อหาที่ออกสอบ ได้แก่

  • ประวัติศาสตร์อเมริกา (U.S. History)
  • การเมืองการปกครอง (Civic and government)
  • เศรษฐศาสตร์ (Economics)
  • ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์โลก (Geography and the world)

รูปแบบในการสอบ SOCIAL STUDIES

  • Multiple Choice – ข้อสอบปรนัยซึ่งมีให้เลือกทั้งหมด 4 คำตอบ ต่อข้อ
  • Drag-and-drop – ให้ลากคำตอบที่ถูกต้องลงในช่องที่เตรียมไว้ให้
  • Fill in the blank – เติมคำในช่องว่างโดยจะมีคำตอบให้เลือกโดยจะแบ่งเป็น ช่องว่าง กราฟ เป็นต้น
  • Short Answer – ให้อ่านเนื้อเรื่องหรือการวิจัย แล้วคำถามจะให้เราสรุปเนื้อเรื่องหรืออธิบายขั้นตอนของการวิจัย

 

3. GED Mathematical Reasoning

การทดสอบแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อ:

ข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ ใช้เวลาสอบ 115 นาที ข้อสอบจะเน้นไปที่การเลือกใช้สูตรและการคิดเลขให้สอดคล้องกับโจทย์ รวมทั้งการแก้ปัญหาทางพีชคณิต โดยเนื้อหาข้อสอบจะประกอบไปด้วย

  • คณิตศาสตร์พื้นฐาน (Basic Math )
  • เรขาคณิต (Geometry)
  • พีชคณิตพื้นฐาน (Basic Algebra)
  • กราฟและฟังก์ชั่น (Graphs and function)

ข้อสอบ MATH จะแบ่งออกเป็น 2 พาร์ท ได้แก่

  • พาร์ทที่ 1 – (5 – 7 คำถามแรก) ไม่สามารถใช้เครื่องคิดเลขได้ จะเป็นคำถามที่ใช้ความสามารถเลขพื้นฐาน (บวก ลบ คูณ หาร) คำถามจะออกเป็นการแก้ปัญหาโดยแบ่งดังนี้ 
    • การแก้ปัญหาเชิงปริมาณ – Quantitative problem solving (45%) 
    • การแก้ปัญหาเกี่ยวกับพีชคณิต – Algebraic problem solving (55%)
  • พาร์ทที่ 2 – (คำถามที่เหลือ) อนุญาตให้ใช้เครื่องคิดเลขที่อยู่ในข้อสอบได้

 

4. GED Science

การทดสอบแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อ:

วิชาวิทยาศาสตร์ ใช้เวลาสอบ 90 นาที เนื้อหาหลักที่น้องๆ ต้องใช้สอบมีอยู่ 3 หัวข้อหลักๆ ได้แก่

  • การอ่านบทอ่านภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (Reading for meaning in Science)
  • การออกแบบและทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Designing and interpreting science experiments)
  • การอ่านตัวเลขและกราฟที่เกี่ยวข้องกับวิชาวิทยาศาสตร์ (Using numbers and graphics in science)

ซึ่งเนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับ Life science, Physical science และ Earth and Space science

 

รูปแบบในการสอบ SCIENCE:

  • Multiple Choice – ข้อสอบปรนัยซึ่งมีให้เลือกทั้งหมด 4 คำตอบ ต่อข้อ
  • Drag-and-drop – ให้ลากคำตอบที่ถูกต้องลงในช่องที่เตรียมไว้ให้
  • Fill in the blank – เติมคำในช่องว่างโดยจะมีคำตอบให้เลือกโดยจะแบ่งเป็น ช่องว่าง กราฟ เป็นต้น
  • Short Answer – ให้อ่านเนื้อเรื่องหรือการวิจัย แล้วคำถามจะให้เราสรุปเนื้อเรื่องหรืออธิบายขั้นตอนของการวิจัย

ใน 4 วิชาที่ใช้สอบนี้ คะแนนที่น้องๆ จะต้องได้ คือ ไม่ต่ำกว่า 145 คะแนน จากคะแนนเต็ม 200 คะแนนในแต่ละวิชาจึงจะถือว่าสอบ GED ผ่าน โดยเกณฑ์คะแนนของ GED มีทั้งหมด 3 ระดับ ได้แก่

  • Passing Score : 145/200 คะแนน
  • College Ready : 165/200 คะแนน
  • College Ready + Credit : 175/200 คะแนน

 

ซึ่งเกณฑ์ที่น้องๆ จะใช้ในการยื่นเข้ามหาวิทยาลัย คือ ตั้งแต่ 145-165 คะแนนขึ้นไป ขึ้นอยู่กับทางคณะและมหาวิทยาลัยกำหนด แต่ถ้าหากสอบแล้วได้คะแนนไม่ถึง 145 คะแนน น้องๆ สามารถสมัครลงทะเบียนสอบใหม่ได้ทันที ยกเว้นการสอบใหม่ในครั้งที่ 4 ขึ้นไปที่จะต้องเว้นระยะจากการสอบครั้งล่าสุดมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน

GED Ready คืออะไร?

GED Ready คือ แบบทดสอบเสมือนจริงของข้อสอบ GED ระบบสมัครสอบจะบังคับให้น้องๆ ทำข้อสอบ GED Ready ให้ผ่านก่อน ( 155 คะแนน/ วิชา) จึงจะสามารถสมัครสอบจริงได้ โดยจะสอบ 4 วิชา ตามข้อสอบจริงแต่จะมีจำนวนข้อสอบและใช้เวลาสอบเพียงครึ่งเดียว ซึ่งการทำข้อสอบ GED Ready จะช่วยให้น้องๆ สามารถคาดการณ์ผลสอบจริงได้อย่างแม่นยำ

นอกจากนี้ ผลสอบ GED Ready ยังสามารถวิเคราะห์จุดอ่อน บอกทักษะที่ควรเพิ่ม และให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์เพิ่มเติมได้อีกด้วย อีกทั้งยังมีการแนะนำหนังสือและระบุเนื้อหาในหน้าหนังสือเพื่อให้น้องๆ ได้กลับไปพัฒนาและสามารถอัพคะแนนให้มากขึ้นกว่าเดิม ถือเป็นอีกแนวทางการเตรียมความพร้อมก่อนสอบ GED ครั้งต่อไปได้ดีเลยทีเดียว

ค่าใช้จ่ายในการสอบ GED

ค่าธรรมเนียมในการสอบ GED แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

  • ค่าสอบ GED Ready 6.99 USD / วิชา (ประมาณ 240 บาท ต่อวิชา)
  • ค่าสอบ GED 80 USD / วิชา (ประมาณ 2,700 บาท ต่อวิชา)
  • ค่าใบ GED Diploma และ Transcript 15 USD / ใบ (ประมาณ 500 บาท ต่อใบ) โดยแบบการจัดส่งจะจัดส่งแบบเร่งด่วน (FEDEX) ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

โดยสามารถชำระค่าสอบและค่าเอกสารด้วยหมายเลขบัตรเครดิต/เดบิต ผ่าน www.ged.com

***ค่าเงินไทยมีการเปลี่ยนแปลงตามอัตราแลกเปลี่ยนในแต่ละวัน

***สำหรับนักเรียนที่เรียนกับทางสถาบัน The Advisor Academy ทางสถาบันจะทำการสั่งใบจบตัวจริงให้ค่ะ**

คุณสมบัติและวิธีการสมัครสอบ GED

น้องๆ ที่จะเข้าสอบ GED จะต้องมีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป โดยไม่ได้กำหนดว่าผู้สอบจะอยู่ในระบบการศึกษามาก่อนหรือไม่

  • สำหรับน้องๆ ที่อายุ 16 – 17 ปี จะต้องดาวน์โหลดแบบฟอร์มแสดงความยินยอมของผู้ปกครอง (Consent Form) และเซ็นยินยอมให้เรียบร้อยเพื่อเป็นหลักฐานก่อนส่งไปยัง GED Testing Service ([email protected]) เพื่อขอเข้าสอบ
  • สำหรับผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไปก็สามารถสมัครสอบได้ทันที โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง

 

เมื่อคุณสมบัติพร้อมแล้ว น้องๆ สามารถ เข้าสมัครสอบได้ที่ www.ged.com โดยเข้าไปที่เมนู Sign up กรอกอีเมลและรหัสผ่าน จากนั้นกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ซึ่งจะต้องตรงตามพาสปอร์ต หากข้อมูลไม่ตรงกันจะไม่สามารถเข้าสอบได้ เมื่อทำการสมัครเรียบร้อยแล้วก็มาถึงขั้นตอนเลือกวัน – เวลาเข้าสอบ น้องๆ สามารถเลือกสอบได้ที่ศูนย์ทดสอบของ GED หรือผ่านการคุมสอบออนไลน์ก็ได้ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • เข้าสู่ระบบบัญชี GED ของตนเอง
  • เลือกศูนย์สอบ / ออนไลน์
  • เลือกวิชาที่ต้องการสอบ
  • เลือกวันและเวลาสอบ
  • ชำระเงินโดยใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต

***น้องๆจะต้องพกพาสปอร์ตเพื่อยืนยันตัวตนตอนสอบ ไม่อย่างงั้นแล้วจะไม่ได้เข้าสอบ

***สำหรับนักเรียนที่เรียนกับทางสถาบัน The Advisor Academy เพียงนำพาสปอร์ตมาที่สถาบันทางสถาบันจะทำการสมัครสอบให้ค่ะ**

เมื่อสอบผ่านครบทุกวิชา ต้องทำอะไรต่อ ?

เมื่อสอบผ่านครบทุกวิชาแล้วน้องๆ จะได้รับการแจ้งเตือนในระบบว่ามีการสอบผ่านครบทั้ง 4 วิชา หลังจากนั้นน้องๆ จะต้องทำการสั่งใบจบฉบับจริงจากอเมริกา ได้แก่ วุฒิ GED (General Education Diploma) และผลการสอบ GED (Transcript) หากน้องๆ ผ่าน 145 คะแนนขึ้นไป จะได้รับวุฒิเทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนปลาย สามารถเก็บไว้ได้ตลอดชีวิต และหากได้คะแนน 145-165 คะแนนขึ้นไป หรืออยู่ในเกณฑ์คะแนนระดับกลางก็สามารถนำไปใช้ในการยื่นเข้ามหาวิทยาลัยทั้งในไทยและต่างประเทศต่อไปได้

การเทียบวุฒิ GED (กับทางกระทรวงศึกาธิการ)

จาก ระเบียบการกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการสอบเทียบวุฒิการศึกษาในประเทศและต่างประเทศระดับการศึกษาพื้นฐาน พ.ศ.2560 ได้มีการประกาศให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้กำหนดคุณสมบัติหลักเกณฑ์ของผู้มีสิทธิเข้าศึกษาต่อ หากมหาวิทยาลัย หรือ คณะกำหนดให้สามารถนำวุฒิ GED ยื่นในการสมัครเข้าศึกษาต่อได้ แสดงว่านักเรียนสามารถนำวุฒิและผลการสอบ GED เพื่อสมัครเรียนได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปเทียบวุฒิที่กระทรวงศึกษาธิการ

ในกรณีที่มหาวิทยาลัยหรือคณะใช้หลักเกณฑ์ เทียบวุฒิ นักเรียนสามารถนำหลักฐานต่างๆ ไปยื่นคำร้องที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการติดต่อ โทร. 02-2885511 www.obec.go.th/

สอบ GED เข้ามหาลัยไหนได้บ้าง?

ใครที่สงสัยว่าสอบ GED เข้ามหาลัยไหนได้บ้าง? สอบเทียบ GED เข้าคณะอะไรได้บ้าง? น้อง ๆ สามารถใช้ผลสอบ GED ยื่นสมัครเรียนได้ทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน หากเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐจะเน้นหลักสูตรนานาชาติ ส่วนมหาวิทยาลัยเอกชนก็สามารถยื่นได้ทั้งหลักสูตรไทยและหลักสูตรนานาชาติ ตัวอย่างคณะจากมหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผลสอบ GED อาทิ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หลักสูตรนานาชาติ)

GED ยื่นเข้าคณะอะไรได้บ้าง จุฬา
  • สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ (BBTech)
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ISE)
  • สาขาวิศวะเคมี (ChPE)
  • สถาบันวัตกรรมบูรณาการ (Bascii)
  • สาขาเคมีประยุกต์ (BSAC)
  • คณะบริหารธุรกิจ (BBA)
  • คณะเศรษฐศาสตร์ (EBA)
  • สาขาการจัดการสื่อสาร (CommArts)
  • สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ (CommDe)
  • สาขาวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม (INDA)
  • คณะอักษรศาสตร์ (BALAC)
  • สาขาการเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษา (PGS)
  • สาขาวิทยาศาสตร์จิตวิทยา (JIPP)

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)

GED ยื่นเข้าคณะอะไรได้บ้าง ธรรมศาสตร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ (TEP/TEPE)
  • สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินทร (SIIT)
  • คณะบริหารธุรกิจ (BBA)
  • คณะเศรษฐศาสตร์ (BE)
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง (UDDI)
  • สาขาวิชาการจัดการออกแบบ ธุรกิจ และเทคโนโลยี (DBTM)
  • สาขานวัตกรรมการบริการ (BSI)
  • หลักสูตรโลกคดีศึกษาและการประกอบการสังคม (GSSE)
  • สาขาการเมืองเศรษฐศาสตร์ (PPE)
  • สาขาการเมืองและการระหว่างประเทศ (BIR)
  • คณะวารสารศาสตร์ (BJM)
  • หลักสูตรอังกฤษและอเมริกันศึกษา (BAS)
  • คณะนิติศาสตร์ (LL.B.)
  • คณะศิลปศาสตร์ (BEC)
  • สาขาโครงการวิเทศคดีศึกษา (IAC)
  • สาขานโยบายสังคมและการพัฒนา (SPD)
  • วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ (PBIC)

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

GED ยื่นเข้าคณะอะไรได้บ้าง มหิดล
  • คณะวิทยาศาสตร์ (B.Sc.)
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ (B.Eng.)
  • สาขาเทคโนโลยีสร้างสรรค์ (Creative Technology)
  • คณะบริหารธุรกิจ (BBA)
  • สาขาสื่อและการสื่อสาร (Media and Communication)
  • คณะศิลปศาสตร์ (Arts)
  • สาขาผู้ประกอบการด้านธุรกิจการเดินทางและธุรกิจบริการ (THM)

วิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ (ภายในประเทศ)

GED ยื่นเข้าคณะอะไรได้บ้าง อื่นๆ
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • มหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ด
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
  • พระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • วิทยาลัยนานาชาติ
  • มหาวิทยาลัยรังสิต
  • มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

วิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ (ต่างในประเทศ)

นอกจากนี้ สามารถใช้ยื่นเข้ามหาวิทยาลัยในต่างประเทศได้อีกด้วย แต่ส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยที่รับวุฒิ GED จะต้องใช้คะแนน IELTS ประกอบการยื่นสมัครเข้าเรียนต่อ หากน้องๆ สนใจมหาวิทยาลัยไหนจะต้องศึกษาเงื่อนไขและข้อมูลให้พร้อมก่อนยื่นสมัคร

GED ยื่นเข้าคณะอะไรได้บ้าง ต่างประเทศ
  • University of California
  • Columbia University
  • Harvard University
  • New York University
  • Alabama State University
  • Colorado State University
  • Penn State University
  • University of Michigan
  • The University of Queensland
  • University of Melbourne
  • Auckland University
  • Victoria University of Wellington
  • University of London
  • Regent’s University London

สอบเทียบ ม.6 GED ยื่นเข้าหลักสูตรภาคไทยได้ไหม

 

สำหรับน้อง ๆ ที่อยากเรียนภาคไทย อาจจะยังไม่แน่ใจว่า สอบเทียบ GED ยื่นเข้าหลักสูตรภาคไทยได้ไหม? สอบ GED เข้าคณะอะไรได้บ้าง? มหาลัยที่รับ GED มีที่ไหนบ้าง? 

ขอตอบตรงนี้เลยว่า วุฒิ GED สามารถใช้ยื่นสมัครมหาวิทยาลัยในหลักสูตรภาคไทยได้หลายที่เลย โดยเวลาน้องอ่าน Requirements ให้เช็กที่ประโยค “ผู้สำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า, ผู้เทียบวุฒิความรู้ต่างประเทศ” ถ้าเขียนระบุไว้ หมายความว่าสามารถใช้ GED ยื่นเทียบวุฒิได้ พี่ยกตัวอย่าง 4 ม.ดังมาให้ ตามนี้เลย

 

 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หลักสูตรภาคไทย)

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • คณะอักษรศาสตร์
  • คณะนิติศาสตร์
  • คณะครุศาสตร์
  • สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร

 

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (หลักสูตรภาคไทย)

  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
  • คณะเศรษฐศาสตร์
  • คณะนิติศาสตร์
  • คณะศิลปศาสตร์ ยกเว้นสาขาเยอรมัน รัสเซีย และภาษาไทย
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์
  • คณะวิทยาลัยนวัตกรรม
  • วิทยาลัยสหวิทยาการ
  • วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วยอึ้งภากรณ์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ เฉพาะสาขาเทคโนโลยียานยนต์ : V-TECH และซอฟต์แวร์ : SOFT-EN
  • คณะสหเวชศาสตร์ สาขาการจัดการกีฬาและการฝึกสอนกีฬา
  • คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์สาขาวิทยาการเรียนรู้

 

มหาวิทยาลัยมหิดล (หลักสูตรภาคไทย)

  • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • คณะศิลปศาสตร์
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • คณะวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา

 

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (หลักสูตรภาคไทย)

  • คณะมนุษยศาสตร์ (เฉพาะสาขาภาษาอังกฤษ อาเซียน และเอเชีย)
  • คณะพลศึกษา (เฉพาะสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการ)
  • คณะสังคมศาสตร์ (เฉพาะสาขานิติศาสตร์)
  • คณะกายภาพบำบัด (ยกเว้น สาขากิจกรรมบำบัด)
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์
  • วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย
  • คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (เฉพาะสาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม)
  • คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ (เฉพาะสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า)

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการสอบ GED

1. เปลี่ยนวันสอบ GED หรือยกเลิกการสอบและขอเงินคืนได้ไหม

พี่ขอแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้ค่ะ

  • กรณีเปลี่ยนวันสอบ น้อง ๆ สามารถเปลี่ยนได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ แต่ต้องทำการเปลี่ยนก่อนถึงเวลาสอบจริง 24 ชั่วโมงค่ะ
  • กรณีต้องการยกเลิกการสอบและขอเงินคืน น้อง ๆ ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ต้องยกเลิกการสอบก่อนถึงเวลาสอบจริง 24 ชั่วโมงนะคะ โดยทาง GED จะคืนค่าสอบผ่านบัตรเครดิตที่ใช้ในการลงทะเบียนสมัครสอบค่ะ 

 

2. เอกสารที่ต้องเตรียมไปในวันสอบ GED

บัตรประชาชน และ Passport

 

3. คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ 145 จะต้องทำอย่างไร

สามารถ Retest วิชาที่สอบไม่ผ่านได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ค่ะ ซึ่งน้อง ๆ ต้องจ่ายค่าสอบวิชาละ 80 USD เหมือนเดิมนะคะ แต่ถ้าสอบครบ 3 ครั้ง คะแนนก็ยังไม่ถึงเกณฑ์ 145 คะแนน จะต้องเว้นระยะเวลาในการสอบในครั้งถัดไปไม่น้อยกว่า 60 วัน จึงจะสามารถกลับมาสอบในวิชานั้นใหม่ได้

 

4. GED ไม่จบม.3 สอบได้ไหม

สอบได้ค่ะ เพราะการสอบ GED ไม่ได้จำกัดวุฒิการศึกษาขั้นต่ำ แค่อายุ 16 ปีขึ้นไปก็สามารถสอบเทียบ GED ได้ค่ะ

 

5. คะเเนน GED รอกี่วัน

รอไม่เกิน 1 วันทำการ ยกเว้นวิชา RLA รอผลประมาณ 2-3 วันค่ะ

คอร์สเตรียมความพร้อมสอบ GED ที่ The Advisor Academy !

หากน้องๆ นักเรียนที่มีอายุ 14-20 ปี อยากสอบ GED ให้ผ่านฉลุย มาเตรียมลุยข้อสอบกับ The Advisor Academy หนึ่งในสถาบันเตรียมสอบหลักสูตรนานาชาติ (Test Preparation Center) ชั้นนำในประเทศไทยที่มีหลักสูตรติว GED  ทั้งแบบส่วนตัว แบบคู่ และแบบกลุ่ม โดยในคอร์สติว GED จะมีการประเมินพื้นฐานภาษาอังกฤษก่อนเรียน พร้อมวางแผนเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยเป็นรายบุคคลให้อย่างละเอียด เข้าเรียนสดผ่านระบบ Zoom จำนวน 100 ชั่วโมงเต็ม พร้อมไฟล์บันทึกการสอนเพื่อทบทวนย้อนหลัง รวมทั้งมีการทดสอบ GED กับครูผู้สอนก่อนลงสู่สนามสอบจริงอีกด้วย

หากน้องๆ สนใจคอร์สติวสอบ GED ของ The Advisor Academy สามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://theadvisoracademy.com/geds

Our Star

พีพี กฤษฎ์ อำนวยเดชกร

PP

กฤษฎ์ อำนวยเดชกร
นักแสดงดาวรุ่ง จากค่ายบางกอกนาดาว

ญดา นริลญา กุลมงคลเพชร

YADA

นริลญา กุลมงคลเพชร
นักแสดงชื่อดังจากเลิฟซิคเดอะซีรีส์,
ละครเรื่องนารีริษยา
และภาพยนต์ชื่อดังอย่าง ‘ร่างทรง’

MEYOU

ชิษณุชา ตันติเมธ
นักร้องหนุ่ม เจ้าของเพลงฮิตอย่าง “ภาวนา”

เหม่เหม ธัญญวีร์ ชุณหสวัสดิกุล

MEIMEI

ธัญญวีร์ ชุณหสวัสดิกุล
นักแสดงสาวดาวรุ่งจาก
ช่อง 7

MINTCHY

สมัชญา อัศวนิเวศน์
Youtuber ชื่อดัง
เจ้าของช่อง mintchyy

Our Success

ความพึงพอใจจากผู้ปกครอง

“ลูกไม่เคยติวหนังสือ ไม่เคยเรียนที่สถาบันใดๆเลยนี่เป็นครั้งแรกที่ตัดสินใจลงเรียนที่สถาบัน…ผลลัพธ์ถือว่าพอใจมากน้องเรียน GED ทั้งหมด 4 วิชา คุณครูสอนเนื้อหาได้คลอบคลุมพอน้องไปสอบ น้องก็ทำข้อสอบได้ และ ได้คะแนนสูงตามที่หวังไว้ด้วยค่ะ”