รวมข้อมูลที่ต้องรู้ BMAT คืออะไร สอบอะไรบ้าง


สวัสดีค่ะน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน ช่วงนี้ก็เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลเปิดรับสมัครสอบ
BMAT กันแล้ว น้อง ๆ มีการเตรียมตัวไปถึงไหนกันแล้วบ้างเอ่ย พี่เชื่อว่าคงมีน้อง ๆ หลายคนที่สนใจสอบ BMAT กันเยอะมากเลยทีเดียว เพราะการสอบหมอในแต่ละปีมีอัตราการแข่งขันที่สูงม๊ากกก และการสอบ BMAT ก็สำคัญสำหรับน้อง ๆ ที่อยากเข้าคณะแพทย์มากเลยทีเดียว

การสอบ BMAT คืออะไร ? BMAT สอบอะไรบ้าง ? สอบยากไหม ? ก่อนสอบ BMAT ต้องเตรียมตัวอย่างไร ?มีการสมัครสอบช่วงไหน ? วันนี้พี่ ๆ จาก The Advisor จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับ BMAT ให้มากขึ้น ถ้าอยากรู้แล้วไปดูพร้อม ๆ กันเลย

การสอบ BMAT คืออะไร?

การสอบ BMAT คืออะไร?
การสอบ
BMAT คือ การสอบเฉพาะทางสำหรับน้อง ๆ ที่สนใจเข้าศึกษาต่อในคณะแพทยศาสตร์, สัตวแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง จัดสอบโดย Cambridge Assessment แห่งสหราชอาณาจักรค่ะ ซึ่งจุดประสงค์ของการสอบ BMAT คือเป็นการสอบเพื่อนำคะแนนไปยื่นเพื่อเข้าศึกษาต่อคณะแพทย์ โดยไม่ต้องผ่านการสอบ กสพท. หรือพูดง่าย ๆ ก็คือจะใช้คะแนน BMAT ไปยื่นใน TCAS รอบ Portfolio นั่นเอง

BMAT สอบอะไรบ้าง ?

BMAT สอบอะไรบ้าง ?

การสอบ BMAT จะแบ่งออกเป็น 3 Sections ซึ่งจะใช้เวลาสอบทั้งหมด 2 ชั่วโมง โดยมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ

Section 1 : Thinking Skills

การสอบ BMAT ใน Section 1 จะเป็นการสอบแบบ Thinking Skills หรือ ความถนัดและทักษะ เน้นทดสอบเชาวน์ปัญญาในการคิดวิเคราะห์เชื่อมโยง แก้ปัญหา รวมถึงทักษะความเข้าใจบทความต่าง ๆ 

ข้อสอบในพาร์ทนี้จะเป็นปรนัยทั้งหมด 32 ข้อ ใช้เวลาในการสอบ 60 นาที โดยเป็นข้อสอบแนว problem solving จำนวน 16 ข้อ และเป็นข้อสอบแนว critical thinking จำนวน 16 ข้อ ซึ่งคะแนนเต็มใน Section นี้ จะอยู่ 9 คะแนนค่ะ 

Section 2 : Scientific Knowledge and Applications

การสอบ BMAT ใน Section 2 จะเป็นการสอบแบบ Scientific Knowledge and Applications หรือ ความรู้และการประยุกต์ด้านวิทยาศาสตร์ โดยเนื้อหาจะเป็นการสอบในรายวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมปลายตามหลักสูตร IGCSE ซึ่งข้อสอบจะเน้นวัดการนำความรู้และทฤษฎีด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ ข้อสอบในพาร์ทนี้จะเป็นปรนัยทั้งหมด 27 ข้อ ใช้เวลาในการสอบ 30 นาที ซึ่งคะแนนเต็มใน Section นี้ จะอยู่ 9 คะแนนค่ะ

Section 3 : Writing Tasks

การสอบ BMAT ใน Section 3 จะเป็นการสอบแบบ Writing Tasks หรือ การสอบเขียนบรรยายจำนวน 300 คำ โดยน้อง ๆ จะต้องเลือกเขียนเพียง 1 เรื่อง (จากกำหนด 3 เรื่อง) ในส่วนแรกจะเป็นการวัดการแสดงความคิดเห็น การวิเคราะห์ และความสมเหตุสมผล 

และส่วนที่สองจะเป็นการวัดเรื่องการใช้ไวยากรณ์ คำศัพท์ และการเรียบเรียงประโยคให้เชื่อมโยงกัน ข้อสอบในพาร์ทนี้จะใช้เวลาในการสอบ 30 นาที ซึ่งคะแนนเต็มใน Section นี้ จะมีคะแนนเต็ม 5A ค่ะ

การคิดคะแนน BMAT

การคิดคะแนน BMAT จะแยกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 คือ Section 1,2 และส่วนที่ 2 คือ Section 3

การคิดคะแนนด้านเนื้อหา

การคิดคะแนน BMAT ด้านเนื้อหาในส่วนนี้จะมีคะแนนเต็มอยู่ที่ 9 คะแนนค่ะ แต่ละข้อมี 1 คะแนน มีการแบ่งเกณฑ์เป็นสเกล 1-9 โดย 1 = ต่ำสุด , 9 = สูงสุด ซึ่งส่วนใหญ่น้อง ๆ จะได้คะแนนประมาณ 5 ซึ่งถือว่าเป็นคะแนนระดับเฉลี่ย ส่วนน้อง ๆ ที่สามารถทำได้ 6 ก็ถือว่าเป็นคะแนนที่ค่อนข้างสูง และน้อยคนที่จะได้มากกว่า 7 ค่ะ

การให้คะแนนด้านการใช้ภาษาอังกฤษ

การคิดคะแนน BMAT ด้านการใช้ภาษาอังกฤษ ในส่วนนี้จะมีผู้ตรวจทั้งหมด 2 คน และจะให้คะแนน 2 แบบ ในส่วนแรกจะเป็นการให้คะแนนด้านเนื้อหา ซึ่งมีเกณฑ์คะแนนอยู่ที่ 0-5 และส่วนที่ 2 จะเป็นการให้คะแนนด้านการใช้ภาษาอังกฤษ โดยแบ่งเป็นเกณฑ์ A C และ E ค่ะ

การสมัครและค่าสมัครสอบ BMAT

การสมัครสอบ BMAT จะมีการสอบในประเทศไทย 2 ครั้งต่อปี ซึ่งน้อง ๆ จะต้องลงทะเบียนกับทางศูนย์สอบ BMAT ที่ได้รับการรับรองจาก Cambridge Assessment Admissions Testing และจะต้องสอบ BMAT ที่ศูนย์สอบที่น้อง ๆ ได้เลือกลงทะเบียนไว้เท่านั้น ส่วนค่าสมัครสอบจะอยูที่ประมาณ 8,000 บาทค่ะ

สถานที่สอบ

สถานที่จัดสอบ BMAT จะมี 3 อยู่ 3 ที่คือ Capwise , CICM Thammasat University และ British Council Bangkok ค่ะ โดยจะมีทั้งสนามสอบใน กรุงเทพ และต่างจังหวัด เช่น เชียงใหม่ , ขอนแก่น , นครราชสีมา , สงขลา , ปทุมธานี , ภูเก็ต

วันที่สอบ

ใน 1 ปีจะมีการสอบ BMAT 2 รอบ โดยจะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน ตุลาคม หรือพฤศจิกายน แต่น้อง ๆ สามารถเลือกสอบได้เพียงแค่ 1 ครั้งต่อปีเท่านั้นค่ะ

คะแนน BMAT ยื่นที่ไหนได้บ้าง

  • คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
  • คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหิดล
  • คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
  • CICM วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์และคณะทันตแพทยศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
  • คณะแพทยศาสตร์ สจล.
  • โครงการผลิตแพทย์ร่วม คณะแพทยศาสตร์ มศว. และ ม.นอตติงแฮม สหราชอาณาจักร
  • สำนักวิชาแพทยศาสตร์ สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มทส.
  • คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ม.นวมินทราธิราช
  • MIDS คณะทันตแพทยศาสตร์ มหิดล
  • คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ ม.ขอนแก่น
  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สรุป

จากที่ได้อ่านข้อมูลที่พี่ ๆ สรุปมาให้แล้วนั้น การสอบ BMAT ถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะสานฝันให้น้อง ๆ สามารถสอบติดแพทย์ได้ และเพื่อสานฝันของน้อง ๆ ที่อยากเรียนต่อต่างประเทศให้เป็นจริงเข้าไปอีกขั้น พี่ ๆ ที่ The Advisor พร้อนสานฝันให้น้อง ๆ ทุกคน หากน้องคนไหนที่ยังไม่รู้ว่าจะเตรียมตัวหรือการวางแผนยังไงดี พี่ ๆ ทีมงานพร้อมดูแล ให้คำปรึกษาทั้งเรื่องการสอบ เรียนรู้เทคนิคลัด รวมถึงช่วยวางแผนการเรียนต่อให้น้อง ๆ ฟรีอีกด้วยค่ะ ถ้าหากสนใจสมัครเรียนสามารถแอดไลน์สถาบันมาได้เลย