รวมเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับ CU-AAT
CU AAT ถือเป็นอีกหนึ่งการสอบ ที่ถ้าหากคุณกำลังให้ความสนใจเกี่ยวกับหลักสูตรนานาชาติ หรือการเข้าศึกษาต่อภาคอินเตอร์ ในรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณจะต้องทำความเข้าใจและทำความรู้จัก สำหรับใครที่วางแผนอนาคตไว้แล้ว ว่าจะเลือกเรียนอินเตอร์ที่จุฬาฯ บทความนี้เป็นตัวช่วยสำคัญ ที่จะทำให้คุณเตรียมพร้อมสำหรับการเข้าเรียนต่อในอนาคต
CU-AAT คืออะไร
ข้อสอบ CU AAT หรือชื่อเต็ม ๆ Chulalongkorn University Aptitude Test for Science คือ ข้อสอบที่จะใช้ในการวัดความถนัดทางด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้เป็นคะแนนยื่นพิจารณาเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี หลักสูตรนานาชาติหรืออินเตอร์ ของทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยข้อสอบ Chulalongkorn University Aptitude Test for Science จะมีลักษณะคล้าย ๆ กับ SAT Subject Tests แต่ความยากง่ายของเนื้อหานั้นจะแตกต่างกันออกไป
CU-AAT สอบอะไรบ้าง
ในการสอบ CU AAT จะมีการแบ่งสอบออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ CU-AAT Mathematics Section และ CU-AAT verbal ซึ่งการสอบทั้ง 2 ส่วน จะมีรายละเอียดดังนี้
CU-AAT Mathematics Section เป็นข้อสอบที่ใช้วัดความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ มีข้อสอบรวมทั้งหมด 55 ข้อ 800 คะแนนเต็ม
- Arithmetic
- Algebra
- Geometry
- Problem Solving
CU-AAT verbal หรือ Verbal Section เป็นข้อสอบที่ใช้วัดความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ มีข้อสอบรวมทั้งหมด 55 ข้อ 800 คะแนน และจะมีการแบ่งย่อยออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่
CU-AAT verbal หรือ Verbal Section เป็นข้อสอบที่ใช้วัดความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ มีข้อสอบรวมทั้งหมด 55 ข้อ 800 คะแนน และจะมีการแบ่งย่อยออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่
- Critical Reading includes
- Sentence completions
- Passage-based reading- Problem Solving
- Writing includes
- Improving sentences
- Identifying sentence errorsImproving paragraphs
คะแนน CU-AAT ใช้ยื่นคณะอะไรได้บ้าง
คะแนน CU AAT สามารถนำเอาไปใช้เพื่อยื่นเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในคณะเหล่านี้ได้
- ISE คณะวิศวกรรมศาสตร์
- ChPE คณะวิศวกรรมศาสตร์ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์
- BSAC คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมีประยุกต์
- EBA คณะเศรษฐศาสตร์
- BALAC คณะอักษรศาสตร์
- INDA คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
- JIPP คณะจิตวิทยา
สมัครสอบ CU-AAT ที่ไหน
สำหรับผู้ที่สนใจจะสมัครสอบ CU AAT สามารถทำการสมัครสอบได้ที่เว็บไซต์ https://atc.chula.ac.th/Main/aat_th/ สามารถอ่านรายละเอียดขั้นตอนการสมัคร และเลือกสมัครสอบผ่านทางเว็บไซต์ตามขั้นตอนได้เลยทันที
ค่าสอบ CU-AAT กี่บาท
ค่าสมัครสอบ CU AAT แบบปกติเพื่อนำเอาคะแนนไปยื่นศึกษาต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาคอินเตอร์ในคณะที่ต้องการ จะมีค่าสมัครอยู่ที่ 1,300 บาท โดยผลการสอบจะมีการประกาศหลังจากวันสอบ 2 สัปดาห์ แต่หากเลือกสอบผ่านทางออนไลน์ ค่าสมัครจะอยู่ที่ 2,900 บาท และจะสามารถทราบผลการสอบได้หลังสอบทันที ในส่วนของคะแนนจะมีอายุ 2 ปี เช่นเดียวกันกับคะแนนสอบ SAT Subject tests
สรุปเกี่ยวกับ CU-AAT
เป็นอย่างไรกันบ้าง กับข้อมูลเกี่ยวกับการสอบ CU AAT ที่ The Adviser Academy ได้เอามาฝากกันในวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการสอบ, ช่องทางการสมัครสอบ, ค่าสมัครสอบ หรือข้อสอบที่ออกสอบ ล้วนเป็นข้อมูลสำคัญที่ควรรู้ก่อนสมัครสอบทั้งสิ้น เพียงทราบข้อมูลเหล่านี้ ก็จะทำให้คุณสามารถเตรียมตัวสำหรับการสอบได้ง่ายขึ้นแล้ว
หากคุณวางแพลนศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีไว้ที่หนึ่งในคณะที่ได้มีการกล่าวมาในข้างต้น และเป็นการเข้าเรียนในหลักสูตรอินเตอร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากคะแนนสอบ CU AAT แล้ว ยังมีคะแนนสอบอื่น ๆ อย่างเช่น การสอบ GED และ English Test (IELTS) ที่สามารถนำเอาไปใช้ยื่นได้เช่นเดียวกัน
และหากต้องการเตรียมสอบ GED หรือ English Test (IELTS) เพื่อนำคะแนนไปยื่นสมัครเรียนต่ออินเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แทนการสอบ CU AATหากอยากได้คะแนนสูงตั้งแต่ครั้งแรกที่สอบ แนะนำเลือกคอร์ส ติว GED หรือคอร์ส ติว IELTS ของโรงเรียน The Adviser Academy ที่มีติวเตอร์มากประสบการณ์ ความรู้แน่น สอนตรงจุด ติวที่ The Adviser Academy ไม่ว่าจะลงสนามสอบไหน ก็มั่นใจได้เลยว่าคะแนนสูงมากพอ สำหรับการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี อินเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 100%