ไขข้อสงสัย มหาลัยอินเตอร์มีหลักสูตรอะไรบ้าง ค่าเทอมเท่าไหร่ ?
แน่นอนว่าการเลือกเรียนหลักสูตรนานาชาติ หรือมหาลัยอินเตอร์ถือเป็นความฝันของใครหลาย ๆ คนที่มีความตั้งใจอยากไปเรียนต่อต่างประเทศ เพราะเป็นหลักสูตรที่มีข้อดีในหลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะมีการเรียนการสอนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของน้อง ๆ ได้เป็นอย่างดี
แล้วน้อง ๆ เคยสงสัยไหมคะว่า มหาลัยอินเตอร์มีหลักสูตรอะไรบ้าง ค่าเทอมเท่าไหร่ ? มหาลัยอินเตอร์ต่างจากภาคปกติอย่างไร? แล้วต้องใช้คะแนนอะไรบ้างในการสอบเข้ามหาลัยอินเตอร์ ? ทุกข้อสงสัย ใน Blog นี้ พี่ ๆ ได้รวบรวมคำตอบมาไว้ให้แล้ว ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ
มหาลัยอินเตอร์ต่างจากภาคปกติอย่างไร?
ความแตกต่างของมหาลัยอินเตอร์กับภาคปกติที่เห็นได้ชัดเลย คือ การสอบเข้า, การเรียน การสอนและสังคม, ภาษาที่ใช้, ค่าเทอม ตลอดไปจนถึงเงินเดือนหลังเรียนจบอีกด้วย
การสอบเข้า
- การสอบเข้ามหาลัยอินเตอร์ส่วนใหญ่จะเปิดรับสมัคร 2 รอบ คือ รอบพอร์ทหรือรอบ portfolio (รอบที่1) และรอบโควต้า (รอบที่2)
- การสอบเข้าภาคปกติส่วนใหญ่จะรับสมัครที่รอบที่ 3
การเรียน การสอน ภาษาที่ใช้และสังคม
การเรียน การสอน ภาษาที่ใช้ของมหาลัยอินเตอร์จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ส่วนมากจะเป็นครูชาวต่างชาติ และมีเพื่อนร่วมชั้นทั้งนักเรียนไทย และนักเรียนชาวต่างชาติ รวมถึงจำนวนนักเรียนในชั้นของมหาลัยอินเตอร์จะน้อยกว่าภาคปกติ
ส่วนสังคมในคณะอินเตอร์เป็นสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้างและหลากหลายทางวัฒนธรรม น้อง ๆ จะได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อนจากทั่วโลก ซึ่งช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษและความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่าง บรรยากาศการเรียนมีความท้าทายและกระตุ้นให้คิดนอกกรอบ มีกิจกรรมนอกหลักสูตรมากมายที่ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ แม้จะเข้มข้น แต่ก็สร้างโอกาสในการพัฒนาตนเองอย่างรอบด้าน ทำให้บัณฑิตมีความพร้อมสำหรับการทำงานในระดับนานาชาติ
เงินเดือนหลังเรียนจบ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าทักษะด้านภาษาเป็นอีกปัจจัยที่มีผลต่อเงินเดือนเช่นกัน โดยเฉพาะบริษัทต่างชาติ การจบการศึกษาจากมหาลัยอินเตอร์ที่ได้เปรียบกว่าทางด้านภาษา การปรับตัว ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำงานได้งานและเพิ่มเงินเดือนได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับน้อง ๆ แต่ละคนด้วยนะคะ ยิ่งน้อง ๆ คนไหนที่มีการพัฒนาตัวเองในด้านอื่นควบคู่ไปด้วย เงินเดือนก็จะยิ่งสูงขึ้น
มหาลัยอินเตอร์มีหลักสูตรอะไรบ้าง?
มหาลัยอินเตอร์ หรือมหาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ มีหลายแห่ง ยกตัวอย่างเช่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ ทุกวันนี้มีหลักสูตรนานาชาติในหลากหลายสาขาวิชา เพื่อตอบสนองความต้องการของนักศึกษาทั้งชาวไทยและต่างชาติ พี่ขอยกตัวอย่างคณะอินเตอร์ยอดฮิต พร้อมเกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษ ตามนี้เลย
คณเศรษฐศาสตร์ หลักสูตร EBA
คะแนนภาษาอังกฤษ English Test (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
- IELTS ≥ 6.0
- TOEFL ≥ 79
- CU-TEP ≥ 79
- Duolingo ≥ 110
- SAT Reading & Writing ≥ 450
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตร BBA
คะแนนภาษาอังกฤษ English Test (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
- IELTS ≥ 6.5
- TOEFL ≥ 79
- CU-TEP ≥ 101
คณะอักษรศาสตร์ หลักสูตร BALAC
คะแนนภาษาอังกฤษ English Test (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
- IELTS ≥ 7.0
- TOEFL ≥ 95
- CU-TEP ≥ 90
- Duolingo ≥ 130
จุดเด่นของคณะอินเตอร์ จุฬาฯ
- หลักสูตรนานาชาติมีความหลากหลายและทันสมัย
- เน้นการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา
- มีโอกาสในการทำวิจัยและโครงการร่วมกับองค์กรระดับนานาชาติ
- มีเครือข่ายศิษย์เก่าที่แข็งแกร่งในหลากหลายวงการ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นอีกหนึ่งสถาบันที่มีชื่อเสียงในการเปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ และเป็นมหาลัยในฝันของน้อง ๆ หลายคน โดยที่นี่มีคณะอินเตอร์ที่น่าสนใจ และเกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษที่ต้องใช้ เช่น
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตร BBA
คะแนนภาษาอังกฤษ English Test (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
- IELTS ≥ 6.0
- TOEFL (ibt) ≥ 80
- TU-GET (cbt) ≥ 80
คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน หลักสูตร BJM
คะแนนภาษาอังกฤษ English Test (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
- IELTS ≥ 6.0
- TOEFL (ibt) ≥ 79
- TU-GET (cbt) ≥ 80
- SAT R&W ≥ 450
คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตร TEP/TEPE
คะแนนภาษาอังกฤษ English Test (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
- IELTS ≥ 6.0
- TOEFL (ibt) ≥ 61
- TU-GET (cbt) ≥ 61
จุดเด่นของคณะอินเตอร์ ธรรมศาสตร์
- มีความโดดเด่นด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
- เน้นการพัฒนาทักษะด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
- บางคณะมีโปรแกรมแลกเปลี่ยนต่างประเทศ (Exchange Program) กับมหาวิทยาลัยทั่วโลกอย่างกว้างขวาง
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ MUIC มหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกที่เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ และปัจจุบันมีหลักสูตรนานาชาติที่น่าสนใจมากมาย เช่น
สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
คะแนนภาษาอังกฤษ English Test (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
- IELTS ≥ 6.0 โดยที่ Writing ≥ 6.0
- TOEFL (ibt) ≥ 69 โดยที่คะแนน Writing ≥ 22
- Duolingo ≥ 100
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์
คะแนนภาษาอังกฤษ English Test (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
- IELTS ≥ 6.0 โดยที่ Writing ≥ 6.0
- TOEFL (ibt) ≥ 69 โดยที่คะแนน Writing ≥ 22
- Duolingo ≥ 100
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
คะแนนภาษาอังกฤษ English Test (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
- IELTS ≥ 6.0 โดยที่ Writing ≥ 6.0
- TOEFL (ibt) ≥ 69 โดยที่คะแนน Writing ≥ 22
- Duolingo ≥ 100
จุดเด่นของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
- โดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเรียนการสอนอย่างทันสมัย
- เน้นการพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการและความคิดสร้างสรรค์
เปิดค่าเทอม 10 คณะอินเตอร์ยอดฮิต
1.Chulabhorn International College of Medicine (CICM) : วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (หลักสูตร 6 ปี)
- ค่าเทอมต่อปีประมาณ 950,000 บาท
- ค่าใช้จ่ายตลอดการศึกษาประมาณ 5,700,000 บาท
2.Bachelor of Business Administration (BBA) : คณะบริหารธุรกิจ หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (หลักสูตร 4 ปี)
- ค่าเทอมต่อปีประมาณ 252,700 บาท
- ค่าใช้จ่ายตลอดการศึกษาประมาณ 1,010,800 บาท
3.International Program In Design & Architecture (INDA) : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หลักสูตร 4 ปี)
- ค่าเทอมต่อปีประมาณ 417,750 บาท
- ค่าใช้จ่ายตลอดการศึกษาประมาณ 1,671,000 บาท
4.Bachelor of Business Administration (BBA) : คณะบริหารธุรกิจ หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หลักสูตร 4 ปี)
- ค่าเทอมต่อปีประมาณ 251,250 บาท
- ค่าใช้จ่ายตลอดการศึกษาประมาณ 1,005,000 บาท
5.International School of Engineering (ISE) : คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หลักสูตร 4 ปี)
- ค่าเทอมต่อปีประมาณ 219,000 บาท
- ค่าใช้จ่ายตลอดการศึกษาประมาณ 876,000 บาท
6.Bachelor of Business Administration (BBA, MUIC) : คณะบริหารธุรกิจ หลักสูตรนานาชาติ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (หลักสูตร 4 ปี)
- ค่าเทอมต่อปีประมาณ 210,975 บาท
- ค่าใช้จ่ายตลอดการศึกษาประมาณ 843,900 บาท
7.Thammasat school of Engineering (TEP-TEPE) : คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (หลักสูตร 4 ปี)
- ค่าเทอมต่อปีประมาณ 180,000 บาท
- ค่าใช้จ่ายตลอดการศึกษาประมาณ 720,000 บาท
8.Faculty of Communication Arts (CommArts) : คณะนิเทศศาสตร์ สาขาการจัดการและบริหารสื่อ หลักสูตรนานานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หลักสูตร 4 ปี)
- ค่าเทอมต่อปีประมาณ 140,000 บาท
- ค่าใช้จ่ายตลอดการศึกษาประมาณ 560,000 บาท
9.Bachelor of Arts in Language and Culture (BALAC) : คณะอักษรศาสตร์ สาขาภาษาและวัฒนธรรม หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หลักสูตร 4 ปี)
- ค่าเทอมต่อปีประมาณ 182,000 บาท
- ค่าใช้จ่ายตลอดการศึกษาประมาณ 728,000 บาท
10.Faculty of Journalism and Communication (BJM) : คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สาขาสื่อศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (หลักสูตร 4 ปี)
- ค่าเทอมต่อปีประมาณ 134,000 บาท
- ค่าใช้จ่ายตลอดการศึกษาประมาณ 536,000 บาท
สรุปบทความ
ปัจจุบันมหาลัยและคณะอินเตอร์มีให้เลือกเยอะมาก ๆ ซึ่งก็เป็นข้อดีที่น้อง ๆ จะได้มีตัวเลือกและมีโอกาสเรียนต่อต่างประเทศเยอะขึ้น สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากสอบเข้ามหาลัยอินเตอร์ และมีความใฝ่ฝันอยากเรียนต่อต่างประเทศแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นการติวสอบยังไง พี่ ๆ ที่ The Advisor พร้อมช่วยสานฝันของน้อง ๆ ให้เป็นเป็นจริงได้ โดยเราจะมีคอร์สเรียนทุกระดับ เรียนกับครูผู้เชี่ยวชาญของข้อสอบนั้น ๆ รวมถึงยังมีพี่ ๆ ทีมงานดูแลให้คำปรึกษาทั้งเรื่องการสอบรวมถึงช่วยวางแผนการเรียนต่อให้น้อง ๆ ฟรีอีกด้วยค่ะ ถ้าหากสนใจสมัครเรียนสามารถแอดไลน์สถาบันมาได้เลย